ผมเคยได้ดูหนังอเมริกันอยู่สองเรื่องครับ เค้าโครงเรื่องแนววิทยาศาสตร์ทั้งคู่ ซึ่งถ้าว่ากันตามจริงแล้วหนังทั้งสองเรื่องแทบไม่มีจุดไหนที่จะเหมือนกันเลย แต่บังเอิญผมจับประเด็นที่เหมือนกันได้จากทั้งสองเรื่องนั้น
ประเด็นที่จับได้ก็คือความพยายามในการจัดเก็บเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกอย่างไว้ทุกกระเบียดนิ้ว เพื่อจะได้สืบค้นได้ในเวลาที่ต้องการ!!
หนังอย่าง Final Cut พยายามจะบอกเราว่าต่อไปเราจะสามารถเก็บความทรงจำของเรา ความทรงจำตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายได้ โดยผ่านความก้าวหน้าของเทคโนโลยีไมโครชิปและเทคโนโลยีการฝังไมโครชิปไว้ในสมอง อือม มันคงจะดีมั้ยล่ะเนี่ย ถ้าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเราทุกกระเบียดนิ้วจะถูกเก็บเอาไว้ทั้งหมด!!!
ในขณะที่หนังอีกเรื่องนึง Deja Vu ใช้การนำเสนอเรื่องของการติดตามคดี ที่มีความจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากทีมวิทยาศาสตร์ ซึ่งบังเอิญว่าทีมงานดังกล่าวมีเทคโนโลยีอันล้ำยุค ที่จะสามารถเก็บรายละเอียดของชีวิตใครคนใดคนนึงเอาไว้ได้ผ่านมุมกล้องต่าง ๆ แล้วฉายออกมาให้เห็นเสมือนหนึ่งกำลังดู Reality ของชีวิตคน ๆ หนึ่ง ในทุก ๆ เวลาและทุก ๆ มุมมอง!!!
ปัจจุบันเราจะพบว่าถ้าเราเก็บหนังซักเรื่องนึงไว้ในฮาร์ดดิสก์ เบาะ ๆ ก็คงจะซัดเนื้อที่ไปเกือบกิ๊กแล้วใช่มั้ย? นี่ขนาดหนังเรื่องดังกล่าวมีมุมกล้องที่ถูกกำหนดตายตัวเอาไว้นะ ไม่ได้มีมุมกล้องอิสระตามแต่ใจว่าคนดูอยากดูมุมกล้องไหน!!!
แล้วถ้าจะเก็บเหตุการณ์ทุกอย่างไว้ทุกกระเบียดนิ้วล่ะ จะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บขนาดไหน?
ผมพบว่า Twitter กำลังเริ่มต้นในสิ่งที่เรียกว่า “การจัดเก็บเหตุการณ์ทุกกระเบียดนิ้ว” เป็นการจัดเก็บโดยเจ้าของเหตุการณ์เอง เหตุการณ์จะถูกเก็บอย่างละเอียดละออหรือเก็บอย่างหยาบ ๆ ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของเหตุการณ์นั้น ๆ
แต่สิ่งที่ผมสนใจกว่าก็คือ เราอาจจะชอบ ถ้าเหตุการณ์ในชีวิตของเราทุกเหตการณ์ ถูกจัดเก็บไว้ทุกกระเบียดนิ้ว โดยที่ไม่ใช่ตัวเราเองเป็นผู้จัดเก็บ แต่จะเป็นใครก็ตามมาจัดเก็บให้เรา โดยได้รับการอนุญาตจากเราเป็นการเป็นงาน
และที่สำคัญที่สุดก็คือเราควรจะเลือกระดับของแต่ล่ะเหตุการณ์ได้ ว่าเหตุการณ์ใดของเรามีระดับชั้นความสำคัญแค่ไหน สำคัญมากจนเปิดเผยให้ใครรู้ไม่ได้เลย หรือไม่สำคัญเลยเปิดเผยให้ใครรู้ก็ได้
ถ้ามีระบบแบบนี้จริง ผมเองก็คงไม่อยากให้ใครได้รู้เหตุการณ์บางกระเบียดนิ้วของผมนะ เช่น เหตุการณ์ที่ผมตดในที่ทำงานในขณะที่กำลังประชุมอยู่ เป็นต้นน่ะ 😛
[tags]เหตุการณ์,กระเบียด,นิ้ว,การจัดเก็บ,คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์[/tags]
ผมใช้บริการ Google Web History อยู่ เอาไว้ดูย้อนหลังว่าเคยทำอะไรไปบ้าง ส่วน Twitter ใช้เพราะมันรวดเร็วทันใจ blog กับ feed ช้าไป เมลไม่ต้องสน ช้ามาก
ผมพอจะทราบอยู่เลา ๆ ว่าคุณ sugree ติด twitter อยู่พอควรเหมือนกัน 😛
โอ้ เป็นบทความที่ดีมากๆเลยครับ เป็นเรื่องที่ผมกำลังสนใจอยู่พอดีเลย 😀