เมื่อราว ๆ ปี พ.ศ. 2538 เพื่อนผมได้แนะนำให้ผมได้รู้จักกับเว็บไซต์เว็บนึงครับ เป็นเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ผมเห็นแล้วตื่นเต้นมาก เพราะสิ่งที่ได้เห็นมันเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ สิ่งนั้นก็คือเว็บไซต์ดังกล่าวจะแสดงภาพจากกล้องวงจรปิด ซึ่งถ่ายภาพบริเวณลานอนุเสาวรีย์ของสถาบันดังกล่าวให้เราดู โดยจะปรับปรุงภาพให้เราดูทุก ๆ 5 วินาที ซึ่งสำหรับสมัยนั้นแล้วถือได้ว่าปรับปรุงรวดเร็วมาก ๆ

ในปัจจุบันนี้กล้องวงจรปิดได้รับความนิยมมากเลยครับ แล้วก็มีทีท่าว่าจะราคาถูกลงเรื่อย ๆ จากที่สมัยก่อนเป็นระบบอนาล็อก ต้องบันทึกภาพเก็บไว้ในเทปแม่เหล็ก ก็กลายเป็นระบบดิจิตอลที่สามารถจะต่อเชื่อมกับระบบคอมพิวเตอร์ แล้วบันทึกลงสื่อดิจิตอลในรูปแบบต่าง ๆ ได้

ถ้าเราสังเกตกันดี ๆ เราจะพบว่า จริง ๆ แล้วภาพและเสียงที่บันทึกได้จากกล้องวงจรปิดนั้น มันก็ไม่ได้ต่างจาก log file เท่าไหร่นัก เพียงแต่จุดหนักใจเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดในเรื่องใหญ่ ๆ จะมีอยู่ 2 ข้อก็คือ

  1. ถ้าเราต้องดักจับภาพจากหลาย ๆ จุดพร้อม ๆ กัน การที่เรามีกล้องวงจรปิดเพียงแค่ไม่กี่ตัว จะทำให้เราได้รับสารสนเทศที่ไม่ครบถ้วนในทุกมุมมองและทุกมิติ
  2. ภาพจำนวนมากที่ได้มาจำเป็นต้องใช้สื่อดิจิตอลความจุสูงในการจัดเก็บ อีกทั้งถ้าเราไม่มีซอฟต์แวร์เพื่อการวิเคราะห์ภาพเฉพาะทาง ก็หมายความว่าเราจะต้องใช้ลูกตาของมนุษย์กวาดจับสิ่งที่เราต้องการเอง

ผมเคยได้ข่าวบ่อย ๆ ครับว่าที่อังกฤษนั้น มีผู้ก่อการร้ายไออาร์เอป้วนเปี้ยนเต็มเมืองหลวงไปหมด ดังนั้นเขาจึงมีความจำเป็นจะต้องติดกล้องวงจรปิดเอาไว้เป็นจำนวนมาก ไม่แน่ใจว่าติดไว้ทั่วทั้งกรุงลอนดอนเลยหรือเปล่า แต่อย่างน้อยก็เพื่อป้องปรามและตรวจตราไม่ให้เกิดเหตุร้ายอะไรขึ้น

ประเทศอังกฤษเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เขามีงบประมาณแผ่นดินมากกว่าเรา แถมมีความจำเป็นมากกว่าเราด้วย เขาจึงสามารถที่จะลงทุนติดตั้งกล้องวงจรปิดไปทั่วแบบนี้ได้

แต่สำหรับประเทศที่มีงบประมาณน้อยอย่างเรานั้น เราคงไม่มีตังค์ไปติดกล้องวงจรปิดทั่วเมืองแบบประเทศรวย ๆ เขาได้ ดังนั้นจึงน่าจะเป็นการดี ถ้าจะมีระบบ SaaS ซักตัวนึง เป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่เผยแพร่ภาพของกล้องวงจรปิดของเหล่าสมาชิกผ่านเว็บไซต์ โดยเผยแพร่ให้ทั้งกับสมาชิกเองและให้กับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ดังกล่าว

มันไม่เหมือนกับ camfrog นะ อันนั้นเป็น video chat แต่ที่ผมหมายถึงมันคือกล้องวงจรปิด networking โดยสมาชิกแต่ล่ะคนก็ตั้งกล้องไว้ตามจุดต่าง ๆ ที่ตัวเองอยากจะเฝ้ามอง นอกจากตัวเองจะเฝ้ามองแล้ว ก็แบ่งปันให้สมาชิกหรือผู้เยี่ยมชมคนอื่น ๆ ได้เฝ้ามองด้วย

ตามแนวคิดของ social networking เป๊ะเลย!!! คนที่เข้ามาเฝ้ามองถ้าเห็นอะไรประหลาดก็สามารถกดปุ่มเพื่อบันทึกภาพช่วงเวลาดังกล่าวไว้ได้ แล้วยังสามารถที่จะคอมเม้นท์ช่วงเวลาที่บันทึกภาพได้ด้วย

เป็นจินตนาการที่ไม่เลวเลย ว่าแต่เทคโนโลยีมันรองรับได้หรือเปล่า แล้วต้นทุนมันจะสูงเกินไปหรือเปล่า ก็เท่านั้นเอง!!!

[tags]คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,อินเตอร์เน็ต,SaaS,กล้องวงจรปิด, Networking[/tags]

Related Posts

20 thoughts on “กล้องวงจรปิด networking

  1. ไอเดียเจ๋งครับ!

    แต่จริงๆจะว่าไป กล้องที่เราอยากจะให้เข้ามาร่วม Network ก็น่าจะเป็นกล้องที่ติดตามที่สาธารณะมากกว่า (เช่นกล้องที่ติดไว้หน้าร้าน ถนนข้างสำนักงาน blah blah) แต่รุสึกกล้องส่วนใหญ่ที่มีมักจะติดไว้ในสำนักงาน เพื่อไว้สอดส่องกิจกรรมภายในมากกว่า ซึ่งข้อมูลพวกนี้แต่ละหน่วยงานก็คงไม่อยากให้รั่วไหลออกไปอยู่แล้ว o__O’) แปลว่าจำนวนกล้องที่จะมาเข้าร่วมใน Network ได้ก็คงไม่เยอะอย่างที่คิด (รึเปล่าครับ)

  2. ผมอยู่ลอนดอนพอดี กล้องเกลื่อนเมืองมากๆ ทุกที่จะเจอป้าย “CCTV in operation” เต็มไปหมด แต่ที่ผมเกลียดสุดคือกล้องตรวจความเร็ว ~_~

  3. ตอนที่ทำโปรเจคด้านการทำให้กล้องมันทำงานร่วมกันได้โดยไม่ต้องมีเครื่องกลาง (distributed system) ผมว่าปัญหาสำคัญคือมันยากที่จะส่งข้อมูลภาพดิบๆผ่านทางเน็ตเวิร์คได้ดี (แบบแคมฟร็อกภาพแตก? ดูบอลภาพกระตุก?) เลยต้องมีการแปลงข้อมูลและเลือกข้อมูลสำคัญที่จะส่งออกไป ซึ่งแต่ละ application ก็ใช้ข้อมูลที่ไม่ค่อยจะเหมือนกันน่ะครับ

    แต่ผมเชื่อว่าด้วยเทคโนโลยีตอนนี้เราสามารถทำได้แล้วนะครับ ปัญหาน่าจะอยู่ที่การออกแบบมากกว่า ถ้ามีเงินมาจ้างวิจัยอะไรๆก็ง่ายขึ้น

  4. ที่อังกฤษเคยมีเหตุสะเทือนขวัญ เด็กฆ่าเด็ก โด่งดังมากตอนนั้น
    แล้วที่สามารถจับตัวฆาตรกรได้ ก็ด้วยกล้องวงจรปิดที่ห้างที่เกิดเหตุ
    ตั้งแต่นั้นมาทางราชการก็ตื่นตัวเรื่องกล้องสุดๆ(สาเหตุเพราะประชาชนด้วย)
    อังกฤษจึงเป็นประเทศที่มีกล้องวงจรปิดมากที่สุดในโลกไปเลย

  5. ผมคิดว่ากล้องส่วนตัวของพวกเรา น่าจะเอาไปติดไว้สาธารณะได้ครับคุณ m3rLinEz เช่นติดให้มันส่องออกไปนอกบ้านเราเป็นต้น ^-^

    คุณ fatro อยู่ลอนดอนก็ไปเยี่ยมคุณ mk ได้อ่ะดิ รายนั้นโชคร้ายมากเลย โดนขโมยขึ้นห้องด้วยอ่ะ ยังดีนะที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ อาชญกรรมไกลบ้านไกลเมืองนี่มันจัดการยากจริง ๆ

    ผมก็คิดเหมือนคุณ ABZee ครับ เรื่องการบีบอัดภาพดิบ ๆ เพื่อส่งผ่านเน็ต เพราะถ้าบีบอัดได้ดีเท่าไหร่ เราก็ยิ่งส่งภาพที่คมชัดได้มากขึ้นครับ

    อ๋อ ที่แท้เป็นเช่นนี้นี่เอง งี้ผมก็เข้าใจผิดอ่ะครับคุณ 7 เพราะผมคิดว่าที่อังกฤษติดกล้องไว้เยอะแยะ ก็เพื่อจะเอามาจับตาดูผู้ก่อการร้ายมากกว่า

  6. เพิ่มเติมนิดครับพี่ไท้

    สาเหตุจริงๆของการติดกล้องเยอะๆแทบจะทุกตารางนิ้วก็คือ
    ในคดีนั้น ถ้ามีกล้อง(ถ้ามีนะ) น่าจะสามารถช่วยชีวิตเด็กน่ะครับ
    เพราะเด็กหายไปในห้างแห่งหนึ่ง รู้ได้จากกล้องภายในห้าง
    ต่อจากนั้นก็ไม่รู้แล้วว่าเด็ก 2 คนนั้น พาเหยื่อไปที่ใหน
    ไปเจออีกที ก็ตัวขาดรุ่งริ่งบนทางรถไฟแล้วครับ

    แต่ระหว่างที่พ่อแม่เด็กหาลูกอยู่หน่ะ ตัวฆาตรกรก็พาเหยื่อ
    เดินไปทั่วเมืองเลยครับ คนทั่วไปก็เห็นเป็นพี่กะน้อง(แต่น้องร้องไห้โยเย)
    ซึ่งถ้ามีกล้องติดอยู่ทุกมุมเมือง ก็น่าจะตามรอยได้ตั้งกะในห้างเลยครับ
    ตัวเด็กก็ไม่น่าตาย(ตายอนาถมากครับ เพราะโดนรถไฟทับ)

    ทั้งสภาพศพของเด็ก(ซึ่งสะเทือนขวัญมาก) และตัวฆาตรกรซึ่งเป็นเด็ก
    ที่เห็นเหยื่อเหมือนตุ๊กตาของเล่น(ประมาณเด็กนรก) เลยทำให้เกิดเหตุการณ์
    กล้องฟีเวอร์ไปทั่วเลยครับ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ทำนองนี้อีก

    เท่าที่รู้มาเหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นหน่ะครับ ภายหลังอาจจะมีเหตุผลอื่นๆ
    เพื่อเพิ่มกล้องลงไปอีกก็เป็นได้ครับ

  7. ผมอ่านแล้วก็อดนึกถึง blog ของเพื่อนผมคนนึงไม่ได้ เลยอยากแนะนำครับ เห็นเค้าติดมาหลายปี บางครั้งวันไหนที่เค้าไม่ได้มาทำงาน ผมก็แอบเข้าไปดูบ่อยๆ 😛

    http://wutthiphan.com/index.php/candy-cam/camera-1/

  8. บล็อกดังกล่าวผมเคยเข้าไปนะครับคุณอาคม คุณ wutthiphan ลิงก์บล็อกมาหาผมด้วยล่ะ แต่ผมไม่ได้ลิงก์หา T-T ละอายใจจัง … ลืมง่ะ

  9. เท่าที่รู้มาเหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นหน่ะครับ ภายหลังอาจจะมีเหตุผลอื่นๆ
    เพื่อเพิ่มกล้องลงไปอีกก็เป็นได้ครับ

  10. ถ้ามีกล้อง(ถ้ามีนะ) น่าจะสามารถช่วยชีวิตเด็กน่ะครับ
    เพราะเด็กหายไปในห้างแห่งหนึ่ง รู้ได้จากกล้องภายในห้าง
    ต่อจากนั้นก็ไม่รู้แล้วว่าเด็ก 2 คนนั้น พาเหยื่อไปที่ใหน
    ไปเจออีกที ก็ตัวขาดรุ่งริ่งบนทางรถไฟแล้ว

  11. ถ้ามีกล้อง(ถ้ามีนะ) น่าจะสามารถช่วยชีวิตเด็กน่ะครับ
    เพราะเด็กหายไปในห้างแห่งหนึ่ง รู้ได้จากกล้องภายในห้าง….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *