It’s Cake ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก

เมืองไทยเรามีสำนวนเปรียบเทียบเรื่องง่าย ๆ ที่ต่อให้เด็กอมมือทำก็ทำได้ว่า “ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก” ฝรั่งเองเขาก็มีสำนวนของเขาเหมือนกัน ซึ่งเราฟังแล้วก็คงรู้สึกว่ามันขัดหู เพราะถ้ามันเป็นเรื่องที่ง่ายซะเหลือเกิน ฝรั่งจะบอกว่า “ง่ายเหมือนเค้ก”

ผมไม่เก่งภาษาอังกฤษ จึงไม่แน่ใจว่าที่ว่า “ง่ายเหมือนเค้ก” เนี่ย หมายความว่ามัน “ง่ายเหมือนกินเค้ก” หรือว่า “ง่ายเหมือนทำเค้ก” ถ้าเป็นอย่างหลังผมว่ามันไม่ง่ายนะเฟ้ย!!!

ปรกติถ้าผมเพียงแค่รู้ ผมก็จะโม้พอหอมปากหอมคอ แต่ถ้าผมได้รู้แล้วได้ลงมือปฏิบัติจริงจนเห็นแจ้ง ผมยิ่งโคตรโม้เลย!

ซึ่งที่ผ่านมาผมก็ได้ลองปฏิบัติจริงใน xAjax ซึ่งเป็น Ajax Framework แล้ว ผมจึงสามารถที่จะโคตรโม้เป็นคุ้งเป็นแควเรื่อง Ajax Framework ได้ … มาคราวนี้ผมก็อยากจะโคตรโม้ในเรื่อง CakePHP ซึ่งเป็น Web Application Framework บ้าง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ผมต้องลงมือปฏิบัติจริงกับมัน

มีการเอ่ยอ้างกันอย่างเลื่อนลอยและไร้หลักฐานอยู่เสมอในโลกอินเตอร์เน็ตครับ และเรื่องที่ว่าการใช้ Web Application Framework ที่มีลักษณะของ Model-View-Controller ช่วยในการเขียน Web Application จะทำให้เราเขียน Web Application ได้เร็วขึ้นก็เช่นเดียวกัน … มันไม่มีข้อพิสูจน์ให้เห็นจริงในเชิง Benchmark เพราะมันคงจะทำ Benchmark ไม่ได้ง่าย ๆ เนื่องจาก Benchmark ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้วัดผลของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ในขณะที่มันทำงานจนได้ผลลัพท์ออกมา … แต่ไม่ได้วัดผลของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ในตอนที่เราลงมือสร้างมันจนแล้วเสร็จ!!!

การจะวัดแบบนั้นได้คงต้องใช้กระบวนการของ Project Management ในส่วนของ Work Breakdown Structure ซะมากกว่า เพื่อกำหนดว่าชิ้นส่วนของงานที่สร้างขึ้นมาแต่ล่ะชิ้นนั้น ต้องใช้เวลาไปเท่าไหร่บ้างและต้องใช้เม็ดเงินเป็นต้นทุนไปเท่าไหร่บ้าง

ก่อนหน้านี้ผมคิดว่า xAjax ยาก แต่สุดท้ายมันก็ไม่ยากเท่าไหร่ … คราวนี้ผมก็คิดว่า CakePHP ยาก ก็หวังว่ามันจะไม่ยากอย่างที่คิดก็แล้วกันครับ ^-^

[tags]xAjax,Ajax Framework, CakePHP, Web Application Framework, Cake, คอมพิวเตอร์[/tags]

Related Posts

8 thoughts on “It’s Cake ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก

  1. If you want it
    You already got it
    If you thought it
    It better be what you want
    If you feel it
    It must be real just
    say the word
    and ima give you what you want

    เอามาจากเพลง 4 Minutes ของมาดอนนา อิอิ

    ส่วนเรื่องวัดผลความเร็วในการพัฒนา MVC ลองกำหนดโปรเจคง่ายๆไม่ก็ใช้ที่เคยทำมาแล้วคือไม่มีปัญหาเรื่อง requirement อย่างคุณ pphetra เขาใช้เกม Hangman จากนั้นก็เอามันมาเขียนด้วย Framework หลายๆตัว แล้วลองวัดดูว่าแบบไหนใช้เวลามากน้อยต่างกัน

    และแน่นอน แต่ละคนถนัดไม่เหมือนกัน
    สไตล์ใครก็สไตล์มัน ไม่มีอะไรดีที่สุดสำหรับทุกคน
    ต้องเลือกให้เหมาะกับเราหรือทีมให้มากที่สุดครับ

  2. ผมเคยเล่น CakePHP อยู่ช่วงนึงครับ เรียกได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ได้สัมผัส mvc

    ก็ค่อนข้างประทับใจครับ ถือว่าเปลี่ยนแนวคิดในการทำ web app เลยทีเดียว

    ป.ล. แต่ตอนนี้เลิกแล้ว หันมาเล่น django แทน 🙂

  3. ส่วนตัว ผมว่า CakePhp อืดพอตัวเหมือนกันนะครับ
    ถ้าอยากใช้แค่ mvc จริงๆ เลือกเป็น CodeIgniter หรือ Kohana จะเร็วกว่ามากนะครับ

  4. AMp — ช้าลงนิดหนึ่ง กับความเร็วในการทำที่เพิ่มขึ้นอีกนิด ผมก็เลยเลือก CakePHP เมื่อก่อนเคยใช้ CI พบว่าระบบ template ถึกเกินไป อีกอย่าง ORM นี่ขอให้มีไว้ก็ดี เวลาจะใช้จะได้ไม่ต้องเสียดายที่มันไม่มี 😀

    ใครใช้ PRADO ยกมือขึ้น!!!

  5. อ่ะ จริงเหรอคุณ rerng@it … ว่าแล้ว ว่ามันผิดไวยากรณ์พิกล อิ อิ

    พี่ป๊อกแกเป็นเซียนเหยียบเมฆไปแล้วครับคุณเอี้ยก้วย รายนั้นจะหยิบจะจับ IDE ตัวไหนก็คล่องปรื๊ดหมดเลย T-T สุดยอด

    อ๋า ผมไม่รู้จัก django, Codelgniter หรือ Kohana เลยอ่ะคุณ xinexo คุณ AMp T-T โหย ทำไมถึงได้มี web application framework ที่ผมไม่รู้จักเยอะงี้เนี่ย?

    โอ้วมี PRADO ด้วย ผมไม่ขอยกมือแล้วกันนะคุณ crucifier เพราะไม่รู้จักอ่ะ … แป่ว

  6. PRADO ผมเคยใช้แล้วครับ เป็นครั้งแรกที่ผมได้เห็น even driven บน PHP จริงๆ ก็น่าตื่นตาตื่นใจดีครับ

    แต่สาเหตุที่ผมต้องเลิกเล่น prado ก็เพราะเรื่อง document นี่ล่ะครับ แล้วก็ learning curve ที่สูง ฉะนั้น ถ้าจะทำเว็บประเภท ทำสองเดือน ทิ้งไว้ครึ่งปี แล้วค่อยกลับมาทำใหม่ แบบนี้ PRADO ไม่เวิร์กครับ (ผมลองมาแล้ว T_T)

    PRADO ถ้าพัฒนาดีๆ ก็น่าสนใจนะครับ เห็นเร่าๆ ว่าจะทำ ide เลย
    ก็น่าสนใจอยู่ล่ะ

    แต่ตอนนี้ผมติดใจความเร็วของ CodeIgniter ไปแล้วล่ะ อิอิ
    นึกอะไรไม่ออก ก็ยัด pure php ไปนี่แหละ ง่ายดี

    ป.ล. CodeIgniter เป็นของบริษัทนึง ส่วน Kohana เอา CodeIgniter มาพัฒนาต่อในรูปแบบของ community driven ครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *