หลังจากไปค้นไปหาอยู่หลายวัน มันก็ทำให้ผมได้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับแบคทีเรียคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง ทีนี้จะมาเล่าให้อ่านกันแบบเชิงวิชาการก็ลำบาก เพราะผมเองก็ไม่แม่นจุลชีววิทยาซักเท่าไหร่ เดี๋ยวเล่าผิดแล้วเจอของแข็งเข้าไปจะแย่เอา
เท่าที่ทราบก็คือในโลกใบนี้ไม่ได้มีทีมเดียวที่ศึกษาเรื่องแบคทีเรียคอมพิวเตอร์ แต่ทว่ามีอยู่หลาย ๆ ทีมทั่วโลก และแต่ล่ะทีมก็ใช้วิธีที่แตกต่างกันในการศึกษา โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ ๆ คือ
1. พวกอิงดิจิทัลคอมพิวเตอร์
นักวิทยาศาสตร์จำพวกนี้จะตัดแต่ง DNA ของแบคทีเรีย โดยให้มีคุณสมบัติเรืองแสงวูบวาบได้ตามที่ต้องการ เพราะแนวคิดก็คือจะให้แบคทีเรียหนึ่งตัวเป็นตัวแทนของบิตหนึ่งบิต ตัวไหนเรืองแสงก็มีค่าเป็น 1 ส่วนตัวไหนไม่เรืองแสงก็ให้มีค่าเป็น 0 ไป จากนั้นก็ใช้กรรมวิธีทางเคมี เพื่อจัดเรียงให้แบคทีเรียอยู่ในลำดับที่สามารถจะจำลองแบบเป็น Micro-Instruction ได้
2. พวกอิงจุลชีววิทยา
เนื่องจากแบคทีเรียก็ถือเป็นสิ่งมีชีวิตเซลเดียวชนิดหนึ่ง และแน่นอนว่าภายในเซลเดี่ยว ๆ ดังกล่าวย่อมต้องมีสารละลายรวมถึงนิวเคลียสอยู่ภายใน อีกทั้งนิวเคลียสภายในย่อมต้องบรรจุ DNA อาไว้ นักวิทยาศาสตร์ก็เลยเห็นว่า เซลหนึ่งเซลของแบคทีเรีย ก็น่าจะเปรียบได้กับ process หนึ่ง process ดังนั้นน่าจะเป็นการดีกว่า ถ้าหากสามารถบังคับ DNA ซึ่งอยู่ภายใน ให้จำลองแบบเป็น Micro-Instruction ที่ต้องการได้ ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเขาใช้อะไรไปตัดต่อรหัสฯที่ว่าให้เป็นไปอย่างที่ต้องการ เพราะถ้าใช้มีด victorinox ก็คงจะใหญ่เกินไป อิ อิ 😛
3. พวกอิงอิเลกทรอนิกส์
ถ้าหากใครเคยเรียนมาทางอิเลกทรอนิกส์จะทราบว่า วงจรอิเลกทรอนิกส์ทั้งหมดล้วนใช้ประจุไฟฟ้าในการทำงาน ดังนั้นจึงต้องมีชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อเอาไว้ต้านทานประจุ, ปล่อยประจุ, อมประจุ หรือ คายประจุ เป็นต้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เองก็เห็นว่า ถ้าหากนำเอาแบคทีเรียมาจำลองเป็นชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์ได้ก็คงจะดี แต่แทนที่จะให้สื่อสารกันด้วยประจุไฟฟ้า ก็เปลี่ยนเป็นให้สื่อสารกันด้วยการแลกสารเคมี ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารของตัวมันแทน ด้วยเหตุที่ผนังเซลของแบคทีเรียนั้น มันไวต่อการเร้าทางเคมีมาก
โดยสรุปแล้วคงอีกนานกว่าเราจะมีแบคทีเรียคอมพิวเตอร์ใช้กันได้ เพราะยังมีโจทย์อีกหลายอย่างที่นักวิทยาศาสตร์ต้องแก้ไขไม่ว่าจะเป็น การควบคุมการเจริญเติบโตของกลุ่มแบคทีเรีย, การป้องกันไม่ให้เกิดการกลายพันธุ์ในระหว่างประมวลผล, การเร่งการเผาผลาญของแบคทีเรียให้ช้าเร็วตามความต้องการ, การเลือกหาแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงในแบบที่ต้องการ เพื่อให้ลดต้นทุนในการตัดต่อ DNA เป็นต้น
งั้นก็อย่าเพิ่งไปสนใจมันก็แล้วกันครับ ใช้ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เข้าอินเตอร์เน็ตไปก่อนแล้วกัน อิ อิ 😛
[tags]แบคทีเรียคอมพิวเตอร์,จุลชีววิทยา,คอมพิวเตอร์,แบคทีเรีย,อธิบาย[/tags]
ใครหนอ ช่างคิดบัญญัติคำ แบคทีเรียคอมพิวเตอร์, อะมีบาคอมพิวเตอร์, โปรโตซัวคอมพิวเตอร์ …
แต่ผมว่า เรื่อง การเปลี่ยนแปลง ตัดต่อ DNA นี้ ถ้าได้ทำเป็นหนังเรื่องใดแล้ว โกยเงินได้ทุกเรื่องนะครับ (หรือเปล่า)