เมื่อราวปี พ.ศ. 2533 ผมได้มีโอกาสไปทำงานพิเศษช่วงปิดเทอมที่ร้านค้าปลีกแห่งหนึ่งย่านบางลำภู โดยร้านดังกล่าวขายเสื้อผ้านักเรียนเป็นหลัก แถมเน้นขายให้พวกคนรวยซะด้วย เห็นได้จากลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมีลูก ๆ เรียนโรงเรียนเอกชนฝรั่งทั้งนั้น (กางเกงแดง กระโปรงแดงเชียว)
ตอนนั้นผมได้รับหน้าที่ให้คุมโต๊ะรับปักเสื้อ ก็ไอ้ที่ปักเป็นตัวอักษรย่อของโรงเรียนที่อกซ้ายบ้าง กระเป๋าขวาบ้างนั่นแหล่ะครับ
ปรกติแล้วการปักเสื้อต้องเริ่มจากการปั๊มตัวอักษรย่อด้วยหมึกสีน้ำเงินหรือสีแดงไว้บนเสื้อ จากนั้นก็เอาสะดึงกลม ๆ (ไม่ใช่สะดือกลม ๆ) มาขึงผ้าให้ตึงเปรี๊ยะ ๆ แล้วก็เอาเข็มมาร้อยไหมสีน้ำเงินหรือสีแดง จากนั้นก็ลงมือปักตามรอยหมึกที่ปั๊มเอาไว้
โม้มาแบบนี้อย่าคิดว่าผมปักเอง ผมไม่ได้ปักเองหรอกครับ ผมแค่มีหน้าที่รับงานมา จากนั้นตีราคาเพื่อให้ลูกค้าจ่ายตังค์เท่านั้นเอง ส่วนหน้าที่ปักเสื้อนั้นเป็นของคุณป้าคนหนึ่งซึ่งนั่งทำงานอยู่ที่ชั้น 5 โน่นแน่ะ แกปักเร็วและสวยมากเชียวแหล่ะ จ้างมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะเลย
ช่วงนั้นมีลูกค้ามาใช้บริการการปักเสื้อมาก ถือเป็นบริการที่ครบวงจรใช้ได้เลยครับ เพราะเมื่อลูกค้าซื้อเสื้อนักเรียนของทางร้านแล้ว ก็ย่อมอยากได้รับความสะดวกในการปักเสื้อไปโดยปริยาย จึงไม่น่าแปลกใจที่ตอนนั้นผมจะมีงานรับปักให้ทำเยอะมาก เรียกว่าคิดค่าปักเสื้อกันมือหงิกเลยทีเดียว
แล้วทีนี้ป้าเขาจะทำไงล่ะ เพราะเกิดปัญหาคอขวดซะแล้ว เนื่องจากมีเสื้อรอเข้าคิวให้ปักหลายสิบตัวต่อวัน แต่มีป้าคนเดียวปักมันจะไหวได้ไง
และผมก็ได้รู้ว่าร้านดังกล่าวมีอาวุธลับซ่อนอยู่เพื่อการนี้โดยเฉพาะ …
ผมไม่แน่ใจว่าสมัยนั้นมีคอมพิวเตอร์หรือยัง … อือม อาจจะมีแต่คงราคาแพงมาก แล้วผมก็พบว่าร้านดังกล่าวมีคอมพิวเตอร์ซะด้วย!!!
มันเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมการปักเสื้อโดยเฉพาะ เป็นการพบกับคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในชีวิตผมเลยก็ว่าได้ แต่ก็ถือว่าเป็นการพบกันที่ไม่น่าพิสมัยซักเท่าไรนัก เนื่องจากมันไม่ได้มีรูปร่างเหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ในปัจจุบันนี้ …
ดูแล้วมันเหมือนกับตู้อะไรซักตู้นึง ซึ่งต่อเข้ากับแท่นปักผ้านับ 10 อัน นัยว่าสั่งโป้งเดียวแล้วปักได้พร้อม ๆ กัน 10 ตัวเลย
เจ้าเครื่องที่ว่ามีหน้าจอกว้างประมาณเกมกด และมีปุ่มให้กดไม่กี่ปุ่มนัก ผมตื่นตาตื่นใจกับมันมาก เพราะพี่ที่เป็นคนคุมเครื่องเขากดปุ่มให้ดูไม่กี่ที เครื่องก็สามารถปักผ้าออกมาได้ ให้เป็นตัวอักษรตามที่ต้องการ ที่สำคัญสามารถปักออกมาเป็นตัวอักษรภาษาไทยได้ด้วย … คอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาอังกฤษล้วน ๆ กลับสามารถรู้จักภาษาไทยได้ เจ๋งไปเลย … (ผมคิด)
สมัยนั้นผมอ่านภาษาอังกฤษออกแล้ว แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจว่าจะควบคุมมันยังไงดี เพราะรู้สึกว่าเมนูที่แสดงออกมานั้น มันไม่ได้สอดคล้องกับกิจกรรมที่มันทำเลย แถมมันก็ไม่มีคู่มือให้อ่านด้วย อีกทั้งพี่ที่เป็นคนคุมเครื่องก็ดูจะหวงแหนวิชามาก เห็นได้จากการที่พี่เขาไม่ยอมสอนใครเลย ว่าจะคุมเครื่องดังกล่าวได้ด้วยการกดปุ่มใด (บอกแต่อย่ายุ่ง เดี๋ยวเครื่องเจ๊ง)
มาภายหลังผมได้เรียนคอมพิวเตอร์มามาก ผมย้อนกลับไปนึกถึงเรื่องนี้ก็เลยเข้าใจ ว่าเหตุใดผมถึงได้ไม่เข้าใจเมนูของเครื่องดังกล่าวเลย โดยสามารถอธิบายความจริงในวันนั้นได้ดังนี้
1. โปรแกรมเมอร์ที่เขียนโปรแกรมคุมเครื่องปักผ้า คงทำแต่ back-end เพียงอย่างเดียว คือ โหลดตัวอักษรภาษาไทยเข้าไปให้ครบ แล้วผูกตัวอักษรให้สามารถใช้ได้
2. เนื่องจาก front-end เป็นภาษาอังกฤษ และเขาก็คงจะไม่รู้วิธีการที่จะปรับแต่งเมนูเหล่านั้น ให้มันมีโครงสร้างอย่างที่ต้องการ เขาก็เลยต้องใช้เมนูที่มีผูกเข้ากับกิจกรรมที่ต้องการแทน ซึ่งมันทำให้การควบคุมต้องใช้วิธีการจดจำเมนู ยกตัวอย่างเช่น
เมนู M41 -> เมนู J55 -> กด Z หมายความว่า “เลือกสีน้ำเงิน”
เมนู CC -> เมนู PP -> เมนู 5X -> เมนู P77 กด 0 หมายความว่า “ปักตัวใหญ่สุด”
เมนู MOD5 -> เมนู JR4 -> เมนู CPX -> กด l”d” หมายความว่า “ให้พิมพ์ตัวย่อ ส.ก. (สวนกุหลาบ)”
เมนู BEEP -> เมนู REQ -> เมนู RES4 -> เมนู IOQ หมายความ “เริ่มทำได้”
จะเห็นว่าเมนูมันมั่วมาก ถ้าไม่มีคู่มืออธิบายก็ไม่มีทางรู้เลย เพราะเมนูมันไม่ได้สื่ออะไรเลย ซึ่งแบบนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการอำพรางระบบคอมพิวเตอร์แบบไม่ได้ตั้งใจได้เหมือนกัน
ผมหวังว่าคงจะไม่มีใครนำวิธีการนี้ไปใช้เพื่ออำพรางระบบคอมพิวเตอร์ของตัวเองนะ เพราะไม่งั้นคนอำพรางนั่นแหล่ะ อาจจะงงเองก็ได้ 😛
[tags]อำพราง,คอมพิวเตอร์,ไม่ได้ตั้งใจ,ปักผ้า,เครื่องปักผ้า[/tags]
แค่นั้นยังเด็กๆ ครับพี่ไท้
ต้องเจอ “การอำพรางโค้ด” ครับ
แง่ง เขียนแบบไม่เผื่อให้คนอื่นอ่านเลย – -*
ใครใช้วิธีนี้ซวยแน่ๆ ครับ คนที่ใช้เครื่องเป็นห้ามป่วย ห้ามลา ห้ามตายด้วย ไม่งั้นระบบตายตาม
แต่ว่าก็ว่าเหอะ เดี๋ยวนี้ก็ยังเห็นแบบนี้อยู่ แบบถ้าคนทำระบบยังอยู่ทุกอย่างก็ราบรื่ีนดี วันนี้ลาออกละพ่อคุณเอ๋ย คนที่อยู่แทบจะกลั้นใจตาย
PS: เหอ เหอ … คิดเลขในใจ ตอนปี 33 ตรูทำอะไรอยู่หว่า คารวะท่านผู้อาวุโสคร้าบ…
ตอนเข้าไปทำงานใหม่ เจอพี่ที่ทำงาน (เลขา) แสดงวิธีใช้โปรแกรม หนึ่งบนเครื่อง AS/ 400 แกบอกว่า ถ้าจะดูรายตัวนี้ก็นี่แหละ ESC 02 08 F2 (ภาษาเทพ) เค้าท่องเอาแบบนี้เลยคับ TOT
ตอนหลังพออ่าน คำสั่งบนหน้าจอ คือ
กลับหน้าจอหลัก
เข้าเมนูที่สอง
เข้าเมนูย่อยที่แปด
แสดงผล
อ้อลืม ปี 33 ผมยังเรียนป. 3 อยู่เลยคับ
อิอิอิ
พ.ศ. 2533 เริ่มบีบอายุของพี่ไท้ ได้แคบขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องนี่มั้ยเนี้ย
#5
ผมให้ 35 เลย
มีใครให้สูงกว่านี้มั้ยครับ 😀
33 ปีเกิดผม
*0*
41!!!
ทุกท่าน – บทความเรื่องคอมพิวเตอร์นะ T-T ไม่ได้ให้ทายอายุซักกะหน่อย T-T ผิดประเด็นกันซะแล้ว ง่ำ ๆ
คิดถึงระบบที่ใช้ในธนาคารเลย ดูเขากดแล้ว
โอ้ววว เทพมาก 555+