แรงจูงใจที่จะทำให้มนุษย์ “ทำ” หรือ “ไม่ทำ” อะไรก็ตาม ล้วนเกิดจากปัจจัยพื้นฐานเพียง 3 อย่างเท่านั้น ซึ่งก็คือ ความโลภ, ความหลง และ ความกลัว
ดังนั้นหากเราต้องการให้เกิด “ผลผลิตมวลรวม” เราก็จำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ปัจจัยตัวใดตัวหนึ่งหรืออาจจะทุก ๆ ตัว ในการกระตุ้นให้คนผลิตหรือบริการในสิ่งที่เราต้องการออกมา…ในระดับที่เราพอใจ
ผมมักจะเลือกใช้ “ความโลภ” และ “ความหลง” เพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้คนทำงานให้ผม เพราะดูแล้วมันละมุนละม่อมและสร้างสรรค์ดี ส่วน “ความกลัว” นั้นถือเป็นทางเลือกสุดท้าย ที่ไม่มีใครอยากใช้นัก เพราะหากใช้กับใครก็จะใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างผลผลิตมวลรวมด้วยวิธี Human-based computation ก็ถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่ดีเหมือนกัน เพราะผู้ที่ออกแรงกายหรือแรงสมอง จะไม่รู้สึกว่าตัวเองลำบากอะไรมากนัก เนื่องจากมันเป็นเพียงเศษเสี้ยวนิดเดียวของพลังงานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ดังนั้นเทคโนโลยี Human-based computation จึงไม่ต่างจากการให้เด็กนักเรียนทุกคนช่วยกันฉี่รดแปลงผักเท่าไหร่นัก เพราะออกแรงเพียงเล็กน้อย ไม่ลำบาก แถมได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอีกต่างหาก … เด็กก็ได้ฉี่ ผักก็ได้ปุ๋ยได้น้ำ!!!
แต่หลังจากที่ผมได้ไปดูภาพยนตร์เรื่อง Eagle Eye มันก็ทำให้ผมได้พบกับหนทางใหม่ของ Human-based computation ซึ่งใช้ “ความกลัว” เป็นพื้นฐานในการกระตุ้นให้เกิด “ผลผลิตมวลรวม”
ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า ระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถ “ขู่กรรโชก” มนุษย์ เพื่อให้ “ทำ” หรือ “ไม่ทำ” ในสิ่งใด ๆ ได้มาก่อน!!!
สำหรับรายละเอียดของภาพยนตร์เรื่องนี้ ขอให้ไปดูกันเอาเอง แต่ประัเด็นที่จะกล่าวอ้างถึงก็คือ ระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในเรื่อง Eagle Eye นั้นมีชื่อว่า “ARIA” แถมเป็นผู้หญิงอีกต่างหาก!!!
เธอมีอำนาจมาก มีอำนาจดุจดั่งองค์ราชินีที่สามารถชี้เป็นชี้ตายได้เลยทีเดียว และก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก เพราะอำนาจของเธอไม่ได้มีแหล่งกำเนิดอำนาจจาก เงินตรา, กลไกรัฐ, ธุรกิจผูกขาด, ภาพลักษณ์, สื่อ หรือ กำลัง เลย … อำนาจของเธอมาจาก “ความรู้” และ “เครือข่าย” ล้วน ๆ
เธอรู้ในทุก ๆ อย่างเกี่ยวกับบุคคลเป้าหมาย เธอจึงสามารถที่จะหาจุดอ่อนของบุคคลเป้าหมายได้ และใช้จุดอ่อนดังกล่าว “ขู่กรรโชก” ให้เขาหรือเธอทำหรือไม่ทำในสิ่งที่เธอต้องการ อีกทั้งเธอยังสามารถต่อเชื่อมกับระบบคอมพิวเตอร์, ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์, ระบบเครือข่ายโทรศัพท์, อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ที่ต่อเชื่อมกับระบบเครือข่าย เป็นต้น ซึ่งมันทำให้เธอสามารถสอดประสานเพื่อสั่งการเครื่องจักรและมนุษย์ได้อย่างลงตัว!!!
อาจจะเป็นโชคดีที่ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น องค์ราชินี ARIA ผู้ยิ่งใหญ่ยังไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในตอนนี้ เนื่องจากจะต้องใช้เทคโนโลยีที่สูงมากในการทำให้เกิดขึ้นมา เพราะองค์ราชินี ARIA ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ล้ำยุคที่สมบูรณ์แบบเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็น Artificial intelligence, Speech Recognition, Speech Synthesis, Facial Recognition, Lip Reading, Acoustical engineering, Systems surveillance เป็นต้น
แต่ถ้ามีจริง ๆ แล้วล่ะก็ ผมจะจับ ARIA ทำเมียเลย ผมจะได้เป็นองค์ราชาด้วย อิ อิ
[tags]ARIA, Artificial intelligence, Speech Recognition, Speech Synthesis, Facial Recognition, Lip Reading, Acoustical engineering, Systems surveillance[/tags]
ถ้าเป็นผู้ชายกลัวเมียก็แย่เลยนะพี่ไท้ 5555+
สะ…สปอยล์
-_-” ช่างน่าเ้ศร้าครับ ผมยังไม่ได้ดู
สัจธรรม คนเมียรวยมักกลัวเมีย อันนี้ถามนายกได้ ยังไม่ได้ดูเหมือนกัน แต่อยากดู หนัง ที่ จอนจบ ผู้ร้าย ชนะพระเอกบ้างอ่ะ
ผมก็ยังไม่ได้ดู
จับ ARIA ทำเมีย เสียบผิดรู ไฟดูดไม่รู้ด้วยนะพี่
ป.ล. เสียบปลั้ก…..ตรึ่งโป๊ะ!!!
อืม ชักอยากมีเมียบ้างแล้วสิ ฮ่าๆ
ผมเป็นผู้ชายเกรงใจเมียครับคุณ 7 ^-^ ถ้าผมมีเมียนะ อิ อิ 😛
อ๋า ขออภัยอย่างแรง ผมนึกว่าใคร ๆ ก็ไปดูกันแล้วซะอีกคุณ tewson T-T
ก็มีนี่ อย่างเรื่อง sekeleton key ไงคุณ higgsman อันนั้นผู้ร้ายชนะนางเอก เพราะในเรื่องไม่มีพระเอก
ช่าย ๆ คุณ AMp โดนช็อตกระเพาะปัสสาวะเดี้ยงไปเล้ย อิ อิ 😛
งั้นเรามาแยกย้ายกันไปหาเมียกันดีกว่าคุณเน็ต ^-^
พี่ชอบเรื่อง sekeleton key มั้ยครับ
ผมชอบสุดๆๆๆๆเลย
เฉย ๆ ครับคุณ kike แต่ผมว่าคนคิดแนวภาพยนตร์ … มันแน่จริง ๆ ฉีกอารมณ์คนดูชะมัดเลย