ถ้าจำไม่ผิด ผมเคยบอกไว้ว่า การที่มนุษย์จะทำหรือไม่ทำอะไรซักอย่างนึงนั้น ยังไงก็จะต้องมีพื้นฐานทางความรู้สึกอยู่ 3 อย่างเป็นตัวเร้า นั่นก็คือ ความโลภ, ความหลง และ ความกลัว

แต่ถ้าสามารถทำหรือไม่ทำโดยไม่ถูกเร้าด้วยความรู้สึกพื้นฐานข้างต้นได้ ก็ถือว่าประเสริฐแล้ว!!!

ผมเคยยกตัวอย่างว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยี Human-based Computation กระตุ้นเร้า “ความโลภ” เพื่อให้พลเมืองอินเทอร์เน็ตทำงานให้เราได้ ตัวอย่างนี้มีให้เห็นไม่ยากนัก เช่น Google Adsense หรือ CJ Affiliate เป็นต้น

ในขณะที่ก็เคยชี้ให้เห็นถึงการประยุกต์เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ เพื่อกระตุ้นให้พลเมืองทำงานให้เราได้ด้วย “ความกลัว” (อ้างอิงจาก องค์ราชินี ARIA ผู้ยิ่งใหญ่) ซึ่งวิธีนี้ถือว่าน่ากลัวในระดับหนึ่ง เพราะใช้สารสนเทศเป็นตัวข่มขู่คุกคามให้เรากลัว!!!

แต่ผมยังเล่าไม่ครบเลยจริงมั้ย? เพราะผมยังไม่เคยโม้ว่า เราจะใช้ Human-based Computation กระตุ้นเร้า “ความหลง” เพื่อให้พลเมืองอินเทอร์เน็ตทำงานให้เราได้ยังไง จริงมั้ย? งั้นมาลองอ่านดูกันดีกว่า …

ความหลงคือความยึดติดอันเกิดจากการที่เรามีประสาทสัมผัสทั้ง 5 … ผมรับรองได้เลยว่าถ้าเรามองไม่เห็น, ไม่ได้ยินเสียง, รับรสไม่ได้, ไม่ได้กลิ่น และไม่รับรู้กายสัมผัส รับรองได้ว่าเราไม่มีทาง “หลง” อย่างแน่นอน!!!

อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถกระทบประสาทสัมผัสสองอย่างของเราได้ นั่นก็คือ การมองเห็น และ การได้ยินเสียง ดังนั้นหากเราประยุกต์เทคโนโลยี Human-based Computation ให้กระทบกับประสาทสัมผัสทั้งสองอย่างของพลเมืองอินเทอร์เน็ตได้ นั่นก็หมายความว่าเรามีสิทธิ์ที่จะทำให้เกิดอาการ “หลงหมู่” ได้

ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น มีสาขาที่ร่ำเรียนกันเฉพาะทางสาขาหนึ่งเรียกว่า “จิตเวชศาสตร์” และบังเอิญเหลือเกินที่ผู้เรียนสาขาดังกล่าว ย่อมจะต้องได้ร่ำเรียนวิชาอันน่าสะพรึงกลัววิชาหนึ่งนั่นก็คือ “วิชาการสะกดจิต” หรือ “Hypnosis!!!!

ต้องทราบกันก่อนว่า “การสะกดจิต” ไม่ใช่ “ไสยศาสตร์” ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ของมันบางครั้งจะคล้ายคลึงกันก็ตาม!!!

การสะกดจิตคือการเร้าต่อประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อส่งสัญญาณไปยัง “จิตใต้สำนึก” ของมนุษย์เราโดยตรง โดยไม่ผ่าน “จิตสำนึก” ซึ่งผู้ที่ถูกสะกดจิตจะเหมือนตกอยู่ในภวังค์ และจะสามารถทำหรือไม่ทำในสิ่งที่ผู้สะกดจิตต้องการได้ โดยที่ผู้ถูกสะกดจิตจะไม่สามารถใช้ “จิตสำนึก” ของตัวเองควบคุมตัวเองได้เลย!!!

และเพราะมันเป็นวิชาที่น่ากลัวเช่นนี้นี่เอง ผู้ที่จะใช้วิชาดังกล่าวได้จึงจะต้องเป็น “แพทย์” เท่านั้น และที่สำคัญต้องเป็น “จิตแพทย์” ด้วย ซึ่งจุดประสงค์ในการใช้วิชาดังกล่าว ก็เพื่อการรักษาจิตใจของผู้คนเป็นสำคัญ!

แต่ก็มีเหมือนกัน ที่มีผู้ใช้การสะกดจิตไปในทางที่ไม่ถูก ซึ่งเราสามารถยกตัวอย่างการสะกดจิตได้จากสื่อบันเทิงต่าง ๆ เช่น การสะกดจิตโดยตัวละครที่ชื่อ “ชิโนบาร่า” ในการ์ตูนเรื่อง “ข้าชื่อ โคทาโร่” ที่ใช้การร่ายรำ “ระบำหุ่นเซ็นโยริว” ต่อหน้ากล้องถ่ายทอดสด เพื่อสะกดให้คนที่ชมการถ่ายทอดกว่า 100,000 คนเกิดบ้าคลั่งอาละวาดขึ้นมา เป็นต้น

จะเห็นว่าการสะกดจิตนั้นเป็นพลังที่มีขอบเขตจำกัด แต่ถ้าหากมันบวกเข้ากับสื่อสารมวลชน มันก็จะมีพลังเพิ่มเป็นเท่าทวีคูณไร้ขอบเขต ซึ่งบังเอิญเหลือเกินที่อินเทอร์เน็ตก็ถือได้ว่าเป็นสื่อสารมวลชนประเภทหนึ่งเหมือนกัน แล้วถ้าเกิดมีคนอุตริทำ Web Application ขึ้นมาเพื่อสะกดจิตผู้คนล่ะ จะเป็นยังไง???

หุ ๆ เป็นเรื่องแย่หน่อยที่ฝันร้ายดังกล่าวเป็นจริง เนื่องจากมีคนทำซอฟต์แวร์สำหรับการสะกดจิตขึ้นมาจริง ๆ ซะด้วยสิ โดยมันมีชื่อว่า Virtual Hypnotist แถมเป็น Opensource อีกต่างหากนะเออ ยังดีที่ไม่เป็น Web Application … แต่ของแบบนี้ประยุกต์กันไม่ยาก!!

มันคงเป็นเรื่องจังไรมากเลยครับ ถ้าหากว่ามีใครซักคนทำ Web Application ขึ้นมา แล้วบรรจุแบบแผนการสะกดจิตเอาไว้ โดยให้คำสั่งในการสะกดจิตว่า ใครก็ตามที่ถูกสะกดจิตโดย Web Application ดังกล่าว จะต้องไปโอนเงินจากบัญชีธนาคารของตัวเอง ไปยังบัญชีโจรที่เปิดเอาไว้

หรือหากคนที่ถูกสะกดจิตเป็นผู้หญิง ก็อาจจะเลยเถิดถึงขั้นถูกสะกดให้ตกอยู่ในภวังค์ แล้วถูกจิตใต้สำนึกสั่งให้เดินทางไปยังที่นัดหมาย แล้วถูกอาชญากรทำมิดีมิร้ายก็เป็นได้

โดยสรุปแล้ว เราเรียนรู้มันเอาไว้ แต่อย่าเอาไปทำอันตรายอะไรใครก็แล้วกันครับ T-T

[tags]คอมพิวเตอร์, Human-based Computation, สะกดจิต, จิตสำนึก, จิตใต้สำนึก, แพทยศาสตร์, จิตเวชศาสตร์[/tags]

Related Posts

7 thoughts on “บทบรรเลงสะกดวิญญาณ

  1. ใกล้สิ้นปีแระ…ดีเลย…เอาไปลง Web Intranet ของบริษัท สะกดจิต CEO ให้โบนัสเยอะๆ ขึ้นเงินเดือนสูงๆ ดีกว่ามะ…อิอิอิ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *