การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมา บางครั้งมันก็มีข้อดีเล็ก ๆ เหมือนกันนะ เพราะมันจะช่วยพิสูจน์แนวคิดหรือทฤษฎีหลาย ๆ อย่างที่ถูกคิดค้นขึ้นมาในช่วงที่ไม่มีวิกฤต

มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ที่ทฤษฎีต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีข้อจำกัด หลาย ๆ ครั้งเราจึงพบว่าทฤษฎีบางตัวจะใช้ได้ในบางเวลา, บางสถานที่ หรือ บางสถานะเท่านั้น บางครั้งเพื่อควบคุมให้ทฤษฎีเป็นไปตามต้องการ ก็จำต้องนิยามตัวแปรบางตัวให้เป็นค่าสัมบูรณ์ ในขณะที่ในความเป็นจริงมันไม่สามารถเป็นค่าสัมบูรณ์ได้

การ Outsourcing เองก็เช่นกัน มันเป็นแนวคิดที่มีข้อจำกัด เพราะมันใช้ได้ก็ต่อเมื่อภาวะเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ องค์กรต่าง ๆ สามารถสร้างกำไรสุทธิได้จากกิจกรรมของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อชั่งน้ำหนักแล้วก็เห็นว่าน่าจะเป็นการดี หากเล็งเป้าไปที่กิจกรรมที่ตนเองถนัด แล้วผลักกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่แกนกลางของธุรกิจตนไปให้ Outsourcing ดูแลแทน ถึงจะจ่ายแพงกว่าเดิมหน่อย แต่ก็คุ้ม!!!

ทุกคนมีความสุข องค์กรต่าง ๆ ก็ตั้งหน้าตั้งตาหากินกับสิ่งที่ตัวเองถนัด ชนะทั้งคู่!!!!

พวกเราเคยสังเกตกันบ้างมั้ยว่า ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น ไม่ว่าวิกฤตดังกล่าวจะเล็กหรือว่าใหญ่ การปลดพนักงานมักเป็นสิ่งแรกที่จะถูกเลือกขึ้นมาในอันดับต้น ๆ … ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะมันเป็นวิธีการลดต้นทุนที่รวดเร็วที่สุด!!!

ดังนั้นเมื่อองค์กรต่าง ๆ คิดได้ว่าต้องปลดพนักงานเพื่อรักษาต้นทุน พวกเขาก็เริ่มจะคิดได้ว่าการ Outsourcing ก็ถือเป็นต้นทุนที่สิ้นเปลืองอย่างหนึ่งเหมือนกัน … จะเป็นการดีมั้ยหากจะดึงเอากิจกรรมดังกล่าวกลับมาทำเอง ให้คนของตัวเองทำเอง ไม่ต้องหวังผลให้อยู่ในระดับที่ดีเลิศนัก ขอแค่ไม่ต้องจ่ายค่า Outsourcing แพง ๆ อย่างที่เคยก็พอ!

ถึงแม้ว่างานทางด้านไอทีจะมีหลากหลาย แต่เมื่อเราจัดงานออกเป็นพวก ๆ แล้ว เราก็จะได้งานเพียงแค่สองพวกเท่านั้น นั่นก็คือ 1) งานซ่อมบำรุงระบบไอที และ 2) งานโครงการระบบไอที

ทฤษฎี Outsourcing พยายามจะบอกเราอยู่ตลอดเวลาว่า เราควรจะผลักทั้งงานโครงการระบบไอทีและงานซ่อมบำรุงระบบไอทีออกไปจากองค์กร ด้วยเหตุผลว่าองค์กรส่วนใหญ่ไม่ได้หากินกับกิจกรรมไอที ดังนั้นให้องค์กรที่หากินเรื่องไอทีจริง ๆ ไปบริหารจัดการไม่ดีกว่าเหรอ? ส่วนองค์กรของเราก็ตั้งหน้าตั้งตาหากินกับกิจกรรมที่เราถนัดต่อไป!

แต่พอถึงเวลาจริง ๆ ถ้าองค์กรต้องรัดเข็มขัด ทฤษฎี Outsourcing ก็คงต้องถูกเก็บเข้าลิ้นชักเหมือนกัน…

ซึ่งถ้าบริษัทใหญ่ ๆ ไม่สนใจจะ Outsourcing แล้ว งั้นธุรกิจ Outsourcing เหล่านี้ก็จำเป็นที่จะต้องเบนเข็มไปยังหน่วยงานรัฐแทน เพราะไม่มีอะไรมั่นคงไปกว่าการแบ่งภาษีประชาชนมาเลี้ยงตัวเองอีกแล้ว

แต่ว่า…

พรรคพวกของผมเล่าให้ฟังว่าตอนนี้หน่วยงานรัฐ กำลังรับสมัครคนที่จบคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้รับไปเป็นพนักงานของรัฐนะ รับไปเป็นแค่ลูกจ้างชั่วคราว กินเงินเดือน 8,000 บาทอีกต่างหาก และคนที่ไปสมัครสอบเข้าทำงานก็ล้วนเป็นคนที่จบมาจากที่ดี ๆ ทั้งนั้น!!!

ในเมื่อเป็นแบบนี้แล้วธุรกิจ Outsourcing ก็คงจะต้องหืดขึ้นคอมากขึ้น เพราะความเคลื่อนไหวของหน่วยงานรัฐในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือบัณฑิตไอทีที่ว่างงานแล้ว วาระซ่อนเร้นอีกอย่างหนึ่งก็คือ หน่วยงานรัฐเริ่มคิดที่จะบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงระบบไอที และบริหารจัดการงานโครงการระบบไอทีด้วยตนเอง โดยการใช้บุคลากรที่มีคุณวุฒิแต่ค่าแรงถูกซึ่งมีจำนวนมากเหล่านี้ เป็นตัวขับเคลื่อนให้ชิ้นงานสำเร็จได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นนั่นเอง

สุดท้ายแล้ว … ทฤษฎี Outsourcing ก็คงจะถูกสายลมพัดผ่านไปเหมือนกับทฤษฎี Re-Engineering กระมัง!!

[tags]The, World, Was, Flat, Outsourcing, งานไอที, ทฤษฎี[/tags]

Related Posts

7 thoughts on “The World was Flat!!!

  1. ผมว่า ถ้าออกแบบระบบไว้ดีๆ
    เรื่องการซ่อมบำรุงนี่ หมดห่วงได้เลยครับ

    ฉะนั้น ตอนออกแบบระบบ
    จะคิดถึง IT ที่ต้อง support ก็ใน worse case สุดๆ เท่านั้นแหละครับ
    นอกนั้น อย่าให้ IT มายุ่งเด็ดขาด (วุ่นวายไม่รู้จบจริงๆ – -”)

  2. งั้นตอนนี้ผมที่ยังเรียนไอทีอยู่ คงต้องมองหางานสำรองไว้ด้วยล่ะมั้ง กลับบ้านไปทำสวนก็ดี ยังพอเลี้ยงตัวได้

  3. คมคายจริงๆ ครับพี่ไท้

    แต่เรื่องราชการจะ outsource หรือไม่ outsource นั้น กระผมกลับปรามาสว่าส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ทำเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดขององค์กรอยู่แล้ว ข้าราชการเงินเดือนกระผีกริ้น คงหวังส่วนแบ่งจากการจัดซื้อจัดจ้างเสียมากกว่า ถึงไม่เอาซอร์ส มันก็มีทางซื้อนู่นนี่ (ที่ไม่ได้ใช้) กันได้อยู่ดีครับ

  4. งั้น Freelance(r) ก็จะมีโอกาสได้งานมากขึ้น เนื่องจากราคาค่าแรงจะถูกกว่า บ. outsource ดังนั้น ถึงเวลาที่ต้องรีบสร้าง connection และกระจายผลงานตัวเอง

  5. คน IT เป็นสิ่งมีชีวิตที่จะต้องใช้เฉพาะทางครับคุณ AMp ^-^

    เอางั้นเลยเหรอคุณ ironkong อือม แต่อย่างน้อยก็แสดงว่ามีที่ดินทำกินสินะครับ ก็ยังถือว่าดีกว่าหลาย ๆ คนเลยเนี่ย

    ผมชอบคำว่า “กระผีกริ้น” ของคุณ iMenn จริง ๆ อิ อิ 😛

    ใช่ ๆ คุณ MP3WizarD ตอนนี้ผู้ประกอบการที่ไหน ๆ ก็จะเอาค่าแรงถูก ๆ ทั้งนั้นเลย

  6. ตอนแรกไอผมก็สงสัย “กระผีกริ้น” มันแปลว่าอะไร เลยไปหาดูซะหน่อย

    กระผีกริ้น
    ความหมาย
    (ปาก) ว. นิดหน่อย, น้อยมาก, เล็กน้อย.

  7. @figaro

    อ่านว่า กระ-ผีก-ริ้น นะครับ

    กระผีก คือเสี้ยว ริ้น คือสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่น่าจะได้ยินกันว่า พวกเหลือบ พวกริ้น ซึ่งตัวเล็กมากๆ ดังนั้น เสี้ยวหนึ่งของตัวที่เล็กมากๆ จึงแปลว่าโคดน้อยยย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *