ไหนลองมานับซิว่าคนเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่แล้วเขาเรียนกันกี่ปี? ลองนับดูนะ ถ้าเรียนมาทางสายสามัญ เฉพาะจบปริญญาตรีก็แสดงว่าเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์มา 4 ปีถูกแมะ?
ถ้าเรียนมาทางสายอาชีพ เช่น ปวช. หรือ ปวส. ก็จะเรียนคอมพิวเตอร์ตอน ปวช. ปี 3 แล้วก็ต่อคอมพิวเตอร์ตอน ปวส. อีก 2 ปี ก็นับรวมได้ 3 ปี ยิ่งถ้าเรียนต่อปริญญาตรีต่อเนื่อง ก็จะใช้เวลาเพิ่มเข้าไปอีก 2 ปี นับรวมกันได้ 5 ปี
และถ้าเรียนต่อปริญญาโทอีกก็เพิ่มไปอีก 2 ปี
นับรวมกันแล้วถ้าคนที่มุมานะที่จะเรียนคอมพิวเตอร์จนจบระดับบัณฑิตก็ใช้เวลาราว 4 – 5 ปี และถ้าร่วมกับการต่อในระดับมหาบัณฑิต ก็จะได้คิดได้เบ็ดเสร็จราว 6 – 7 ปี
จะเห็นว่าการที่จะเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์แล้วจบออกมาได้ มันช่างเสียเวล่ำเวลาอะไรเช่นนี้ คน ๆ นึงต้องเรียนรู้ผ่านเวลามาเกินครึ่งทศวรรษ ต้องบรรจุความรู้คอมพิวเตอร์ตั้งมากมายเข้าหัว ต้องสอบครั้งแล้วครั้งเล่ากว่าจะจบออกมาได้ …. จบออกมาเป็นคนที่พร้อมจะทำงานคอมพิวเตอร์ …
ทีนี้มาเจาะประเด็นปัญหากันดีกว่าครับ ก็อย่างที่โม้เอาไว้ข้างต้นว่าวิชาทางคอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลาเรียนกันยาวนาน ดังนั้นลองคิดดูนะครับว่าช่องว่างของเรากับคนที่ไม่ได้เรียนจบคอมพิวเตอร์มันจะกว้างแค่ไหน?
มันกว้างตามภาพที่ผมวาดไว้นั่นแหล่ะ มันกว้าง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ มากจนบางครั้งนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไม่สามารถพูดคุยสื่อสารกับลูกค้าหรือ User ได้รู้เรื่อง ซึ่งนี่เป็นปัญหาคลาสสิคขององค์กรคอมพิวเตอร์เลยล่ะ
ทราบมั้ยครับว่าผมต้องเรียนรู้และปรับตัวตั้งนานเลยล่ะ กว่าจะรู้วิธีที่จะสื่อสารกับลูกค้าหรือ User ได้อย่างรู้เรื่อง
ลูกค้าหรือ User จะไม่ชมเชยนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เอาแต่พร่ำโม้ศัพท์ทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่ฟังแล้วไม่เข้าใจหรอกครับ แต่เขาจะชมเชยนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถอธิบายอะไรหลาย ๆ อย่างทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ ให้เป็นภาษาที่เรียบง่าย, ภาษาชาวบ้าน และภาษาที่ใครหน้าไหนฟังแล้วก็เข้าใจได้ ถึงแม้จะไม่ได้จบคอมพิวเตอร์หรือเรียนคอมพิวเตอร์มาก็ตาม
ผมพบปัญหามาตลอดเลยนะเรื่องการสื่อสารระหว่างนักพัฒนาซอฟต์แวร์กับลูกค้าเนี่ย จนในที่สุดเมื่อผมก้าวขึ้นมาในตำแหน่งงานที่ต้องปกครองทั้งนักวิเคราะห์ระบบและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผมก็เลยงัดยุทธวิธีที่คิดค้นออกมาใช้ครับ
ยุทธวิธีดังกล่าวก็คือ การฝึกอบรมทั้งนักวิเคราะห์ระบบและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในทีมให้รู้จักการอุปมาและเปรียบเทียบครับ ผมมักจะทำเป็นตัวอย่างให้ดูทั้งก่อนจะไปคุยกับลูกค้าหรือ User และหลังจากที่ไปคุยกับลูกค้าหรือ User เสมอ
การอุปมาหรือเปรียบเทียบศัพท์ทางเทคนิคให้สอดคล้องกับภาษาชาวบ้าน เป็นสิ่งที่เราต้องเลือกพูดตามสถานการณ์ เช่น ถ้าระบบมันช้าด้วยเหตุผลเพราะ Server เจอปัญหา I/O Bound กับ Client ผมก็จะอธิบายกับลูกค้าหรือ User ให้เข้าใจว่า …
ตอนนี้นะ Server ในศูนย์คอมพิวเตอร์คือเมือง ๆ นึง แล้ว Client หลายร้อยเครื่องที่ฝ่ายการเงินใช้อยู่ คือ หมู่บ้านเล็ก ๆ หลายร้อยหมู่บ้านนอกเมือง แล้วตอนนี้อ่ะนะครับ มันเหมือนกับว่า แบบว่ามีรถที่วิ่งจากทุกหมู่บ้าน มุ่งเข้าไปยังเมืองหลวงอย่างหนาแน่นมากเลยครับ ตอนนี้ในเมืองหลวงก็เลยรถติดมาก ๆ เลยอ่ะครับ ทำให้อะไร ๆ ในเมืองหลวงติดขัดทำอะไรลำบากมาก มันก็เลยช้าไง
ก็แถไปแบบนี้ครับ แล้วเขาก็เข้าใจนะ ดีจริง ๆ
โดยสรุปแล้ว เราควรมีความเมตตาและมีปัญญาเชิงอารมณ์ที่สูงมากพอในการคุยกับลูกค้าครับ อย่าลืมนะครับว่าพวกเราน่ะเรียนคอมพิวเตอร์กันมาถึง 6 – 7 ปีเชียวนะ เห็นใจคนที่เขาไม่ได้เรียนคอมพิวเตอร์มาบ้างเด้อ
[tags]นักพัฒนาซอฟต์แวร์,ลูกค้า,การสื่อสาร,อุปมา,เปรียบเทียบ[/tags]
บางทีอ.ก็ควรจะพูดอะไรที่เข้าใจง่ายเหมือนพี่ไท้พูดนะครับ การเรียนคอมพิวเตอร์จะได้เข้าใจง่ายหน่อย เพราะมัวแต่จำศัพท์มากไป เดี๋ยวก็งงตัวเอง
ผมว่าอาจารย์ที่สอนนะควรจะสอนทั้งศัพท์เทคนิคต่างๆแล้วก็ ใช้คำพูดง่ายๆเปรียบเทียบให้เข้าใจด้วยก็ดีนะ เวลาจบไปจะได้รู้จักเปรียบเทียบ รูจักพูด ว่าควรจะพูดเปรียบเทียบอย่างไรให้เข้าใจ
เพราะอาจารย์เขาไม่ได้ออกมาเจอของจริงอ่ะครับน้องโอ, คุณ iPorsut ต้องเข้าใจเขาหน่อยครับ
ถูกต้องแล้วครับ เหมือนพี่ไท้บอกครับ อาจารย์ ไม่ได้มาเจอของจริงอย่างเรา ๆ ครับเพราะอยู่แต่ในมหาวิทยาลัย อันนี้เขาก็ไม่สามารถหากรณีศึกษามาบอกได้อะครับ แต่กดีครับเรามีอาจารย์นอกมหาลัยอย่าง พี่ไท้ เหอๆๆๆ มาชี้แนวทางแล้วนี่ครับ นับเป็นอะไรที่ต้องคิดพอสมควรโน๊ะ แต่ก็น่าเวลาเราไปคุยกับคนที่เขาเรียนอย่างอื่นมา เรายังไม่รู้เรื่องเลย จะว่าอะไรแต่คอมพิวเตอร์
อาจารย์นั้นอาจจะ็เรียนคอมพิวเตอร์มา 6-7 ปี เหมือนกัน บางทีอาจไม่มีประสบการณ์คุยกับลูกค้าโดยตรง พอไปสอนนักศึกษาเลยใช้แต่ศัพท์ทางเทคนิคมากไปเหมือนกันล่ะครับ
อาจารย์ส่วนหนึ่งก็รับจ๊อบนอกนะครับ แต่ที่ต้องใช้ศัพท์สูงๆ ส่วนหนึ่งก็เพื่อทำให้ตัวเองดูดี ทำให้คนที่ไม่รู้จักศัพท์นั้นอึ้ง จะได้เถียงไม่ออกครับ และจะได้ไม่มีคำถามให้กวนใจ
ผมชอบบทความตัวนี้ครับ มันก็จริงมากทีเดียวนะครับ ไม่ใช่แค่ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ vs ลูกค้า เสมอครับ บางทีผมมีกรณี ลูก vs แม่ ครับ เพราะหลายอยากผมก็สอนแม่ผมครับ เวลาพูดก็ไม่รู้จะพูดยังไงให้เข้าใจหนะครับ เพราะอะไรๆมันก็เป้นศัพท์เทคนิคไปหมด
เห็นด้วยกับคุณหมีน้อยน่ะครับ รู้สึกว่าอะไรๆมันก็เป้นศัพท์เทคนิคไปหมด มันอยากที่จะบอกให้คนรุ่น พ่อ แม่เข้าใจ
เรื่องแค่นี้คิดกันไม่เป็นเหรอครับ
ผมเองก็ไม่รู้เรื่องอื่นนอกจากเรื่องคอมพิวเตอร์เหมือนกันอ่ะครับคุณสิทธิศักดิ์
อาจารย์บางท่านก็รับงานนอกนะคุณเดย์ แต่เนื่องจากรับงานนอกเป็นงานอดิเรกอ่ะ บางครั้งก็อาจจะไม่เท่ามืออาชีพด้านดังกล่าวก็ได้
ปรกติเจอคนที่รู้เยอะ ๆ ผมจะฟังอย่างเดียวครับคุณ SmileSquare แต่ไม่ได้จับผิดเขาหรอกนะ แค่รู้สึกดี ๆ ที่มีคนพูดอะไรให้ฟังเท่านั้นเอง
ลูกกับแม่ไม่เกี่ยวกับ software as a service อ่ะครับคุณหมี งานนี้ผมขอผ่าน 😛
ศัพท์เทคนิคเหมาะสำหรับคนเทคนิคคุยกันครับคุณหนึ่ง ซึ่งมันอาจจะไม่เหมาะสำหรับคนอื่น ๆ ก็ได้
บางเรื่องที่เห็นว่าง่าย บางทีเราก็ต้องคิดกันเป็นนานสองนานเลยนะคุณตาสีตาสา
ถ้าลูกค้าอายุมากๆนี่ยิ่งพูดยากนะครับพี่ไท้