นักพัฒนาซอฟต์แวร์ก็มีหลายระดับเหมือนกันนะครับ ผมว่านะ ทุกคนมัวแต่เรียนหนังสือหรือทำงานหรือเอาแต่ให้ความสนใจกับวิชาความรู้ทางคอมพิวเตอร์กัน เลยไม่ค่อยได้สังเกตุที่จะจัดระดับของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ซักเท่าไหร่ ผมเลยว่าวันนี้จะจัดให้ดู
จากภาพนะ จะเห็นว่าผมจัดระดับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ออกเป็น 5 ระดับ โดยการแทนด้วยศักดินาของเจ้าและขุนนางของพวกยุโรป โดยผมแบ่งเป็นดังนี้
- Emperor คนเหล่านี้เป็นคนกลุ่มเล็กที่สุดของสังคมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ครับ พวกเขามีบทบาทในการชี้นำทิศทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ พวกเขาไม่ใช่นายทุนนะอย่าเข้าใจผิด จริง ๆ แล้วพวกเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือวิศวกรคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผู้คิดค้นทฤษฎีทางซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ออกมา ตัวอย่างของสิ่งที่คนพวกนี้คิดค้นก็ได้แก่ ไวยากรณ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ, กลไกการเข้ารหัสถอดรหัส, กลไกการรับส่งข้อมูล, มาตรฐานที่ปรากฎอยู่ในเอกสาร RFC เป็นต้น คนเหล่านี้คือผู้เขียนพิมพ์เขียวทางซอฟต์แวร์ ซึ่งพิมพ์เขียวดังกล่าว ไม่เคยเกิดขึ้นในโลกมาก่อน
- King กลุ่มคนระดับนี้มีบทบาทหลักในการสร้าง Prototype เพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎีทางซอฟต์แวร์ที่คนระดับ Emperor คิดค้นออกแบบขึ้นมา เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าสิ่งที่คิดค้นขึ้นนั้นสามารถทำได้จริง สามารถทำซ้ำได้ และได้ผลลัพท์ที่เหมือน ๆ กันทุก ๆ ครั้ง คนเหล่านี้ก็ได้แก่บรรดาคนที่สร้างคอมไพเลอร์ต้นแบบ, สร้างซอฟต์แวร์ต้นแบบต่าง ๆ เป็นต้น คนเหล่านี้คือผู้ทำให้ทฤษฎีทางซอฟต์แวร์กลายเป็นของที่ใช้ได้จริงขึ้นมา
- Prince ส่วนใหญ่แล้วคนระดับนี้จะเป็นบริษัทเอกชน หรือไม่ก็บรรดากลุ่มคน open source ที่เห็น Prototype ต่าง ๆ ซึ่งพิสูจน์โดยคนระดับ King แล้วว่าสามารถนำมาใช้ได้จริง คนเหล่านี้จะเลือกเอา Prototype ต่าง ๆ มาประกอบกันแล้วสร้างเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปขึ้นมา เพื่อนำมาแจกจ่ายหรือขายต่อไป ผลงานของคนเหล่านี้ก็มีเยอะแยะเช่น WordPress, JoomLa, FileZilla, .NET Framework, Apache, DirectX, Linux เป็นต้น คนเหล่านี้คือผู้สร้างซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่เป็นมาตรฐาน และได้รับการยอมรับโดยคนทั่วไป
- Duke กลุ่มคนระดับนี้เรียกได้อีกอย่างนึงว่าเป็นนัก Customize ครับ พวกนี้ก็คือคนอย่างพวกเราเนี่ยแหล่ะครับ ไม่ต้องมองไปไกลเลย คนเหล่านี้จะมีทักษะในการปรับแต่งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่เป็นมาตรฐาน ที่ถูกสร้างเอาไว้แล้วโดยคนระดับ Prince สิ่งที่คนกลุ่มนี้จะทำก็คือเรียนรู้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปแล้วก็ปรับแต่งให้เหมาะสมตามแต่กรณี เช่น กลุ่มผู้พัฒนา Thai Linux ที่ปรับแต่ง Linux ให้เหมาะกับภาษาไทย, กลุ่มผู้พัฒนา Thai CMS ที่ปรับแต่งซอฟต์แวร์ประเภท CMS แบบไทย ๆ, กลุ่มผู้พัฒนา Plugins สำหรับใช้กับ WordPress เป็นต้น จริง ๆ จะบอกว่าโปรแกรมเมอร์ทั้งหลาย ที่เขียนซอฟต์แวร์โดยใช้ IDE หรือ คอมไพเลอร์ต่าง ๆ ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มคนระดับนี้เหมือนกัน ดังนั้นคนระดับนี้เลยเป็น ผู้ปรับแต่งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่เป็นมาตรฐาน ให้ได้ผลลัพท์ตามจุดประสงค์ที่ต้องการ
- Knight ผมไม่รู้จะบอกไงดี แต่คนพวกนี้ก็คือ Power User ทั่วไปนั่นแหล่ะ ที่อาจจะเรียนจบคอมพิวเตอร์ หรือไม่ได้เรียนจบคอมพิวเตอร์มา พวกเขาใฝ่ดี, มุ่งมั่น, ขยัน และพยายาม ที่จะเรียนรู้ใช้งานซอฟต์แวร์ที่สร้างโดยคนระดับ Prince หรือเรียนรู้ที่จะใช้ซอฟต์แวร์ที่ปรับแต่งโดยคนระดับ Duke ซึ่งถ้าแปลความหมายแบบนี้ คนเหล่านี้ก็คือ คนทั่วไปที่ได้มีโอกาสใช้ซอฟต์แวร์นั่นเอง
เมื่อแบ่งแบบนี้แล้ว ก็จะเห็นภาพระดับนึงแล้วเน้อะ ว่าคนที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ เขามีกันกี่ระดับกัน ทีนี้ดูตารางข้างล่างดีกว่า ว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเรา ส่วนใหญ่อยู่ระดับไหนกัน เทียบกับระดับโลกนะ
ก็อย่างที่เห็นอ่ะครับ อันนี้เป็นความจริง พวกเราอยู่กันระดับล่าง ๆ อ่ะ ก็คงต้องยกระดับตัวเองกันต่อไป 😛 ผมหวังนะว่าซักวันนึง คนไทยอย่างพวกเรา คงจะมีใครซักคนที่เก่งมาก ๆ จนเป็นระดับ Emperor ผู้ซึ่งมีบทบาทในการคิดค้นทฤษฎีทางซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ในอนาคตครับ 🙂 สู้ ๆ ครับ
[tags]emperor,king,prince,duke,knight,ระดับ,นักพัฒนาซอฟต์แวร์,คนไทย,ระดับโลก[/tags]
ประเมินตัวเองออกมาได้ อยู่ระหว่าง Knight กับ Duke ครับ (ลูกครึ่ง) เส้นทางนี้ต้องพัฒนาตัวเองอีกเยอะ ก็ได้แหล่งความรู้จากพี่ไท้นี่แหละครับ ประเทืองปัญญา
ตอนนี้ผมน่าจะอยู่แค่ Knight เองครับ แต่ก็ฝันที่จะเป็น Emperor เพื่อประโยชน์แห่งโลก
ถ้าผมจะเรียกระดับ Emperor ของพี่ไท้ว่า Hacker (ความหมายตอนยุคแรกๆนะ ไม่ใช่รวมกับ Cracker เหมือนปัจจุบัน) คงจะไม่ผิดใช่ไหม
ขอเป็น Knight ละกัน อ่านแล้วเท่ดี 🙂
ผมเองประเมินตัวเองแล้ว ก็คาดว่าคงอยู่ประมาณ Duke มือใหม่
ผมเคยฝันอยากจะอยู่ระดับ Emperor นะครับ ตอนสมัยเรียน พอทำงานๆนานๆ
เข้าก็รู้เรื่อยๆว่าเป็นไปได้ยาก . . คือไม่ใช่เป็นไปได้ยาก แต่เป็นไปได้ยาก
เหมือนกับ Blog ก่อนๆ ของ Peetai เกี่ยวกับของความลับ ว่ามีหลายระดับ
ระดับที่เรามีโอกาสได้ศึกษานี่ ผมมองว่าเป็นความลับในระดับสร้างชื่อเสียง
สำหรับคนที่คิดค้นครับ ไอ่ที่ลึกซึ้งจริงๆนี่ผมคิดว่าเค้าไม่ปล่อยให้เรารู้จริงๆ
แต่ผมก็เข้าใจนะ ก็เค้าใช้เวลานาน ทดสอบนาน กว่าจะได้ผลลัพธ์ แล้วอยู่ดีดี
ให้เอาสรุปทั้งหมดมาให้เรา Get โดยไม่มีต้นทุนแบบนี้ มันก็ทำใจลำบากอยู่
สำคัญที่สุดก็ไม่พ้นเรื่องกำแพงภาษาครับ หลายต่อหลายคนมีปัญหาเรื่องภาษา
ก็เลยเป็นได้แค่ Duke ไปไม่ถึง Emperor เพราะเราอ่านรู้เรื่อง แต่อ่านไม่เข้าใจ
จะพูดยังไงดี ก็จับใจความได้ แต่ไม่สัมผัสถึงความลึกซึ้งของถ้อยคำ . . .
พร่ามซะยาวเลยนะผมเนี่ย . . .
ช่วงนี้ผมไม่ค่อยมีไอเดียอะไรเท่าไหร่เลยครับ คงต้องหาความรู้จากที่อื่น ๆ มาประกอบ ๆ หน่อยเหมือนกันอ่ะครับคุณเดย์
จริง ๆ เรียกอะไรก็ได้อ่ะครับคุณโอ ตอนแรกนะ ผมกะว่าจะใช้บรรดาศักดิ์ของไทยซะหน่อย แต่กลัวจะถูกตำหนิเอา เลยเปลี่ยนไปจัดลำดับด้วยยศศักดิ์ของยุโรปโบราณดีกว่า
ถ้านี่เป็นเกมส์นะคุณ kong ระดับ knight น่ะไม่เท่าไหร่หรอก ต้อง paladin ครับ ถือ item ได้เยอะกว่า ฮิ ฮิ ^o^
ยินดีต้อนรับครับ Mr. Stamp คุยยาว ๆ ได้ครับไม่มีปัญหาอะไร ผมอ่ะรู้มาตลอดแหล่ะ ว่าคนไทยเราเก่ง ๆ เยอะ จะติดขัดนิดหน่อยก็การลำดับการถ่ายทอดเท่านั้นเอง ดังนั้นยิ่งเยอะยิ่งดีครับ เขียนแล้วนึกถึงคุณ memtest แฮะ รายนั้นก็เขียนยาวเหมือนกัน แต่เดี๋ยวนี้หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้
ว้าว…เห็นภาพอย่างชัดเจนเลยครับงานนี้ ผมว่าพี่ไท้ นำเสนอได้อย่างเหมาะสมเลยทีเดียว เพราะเรื่องซอฟแวร์นี่ต้องบอกว่าไม่มีจุดสิ้นสุดดูอย่าง Microsoft ซิครับไม่จบซักทีไปได้เรื่อย ๆ แถมยังพัฒนาดีขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยหนะครับ นั่นแสดงให้เห็นว่าเขามีตั้งแต่ Emperor,King,Prince,Duke ตามลำดับไม่รู้ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าหนะครับ.
รู้สึกว่าตัวเองเล็กลงยังไง ยังงั้นเลยครับ
อยากมี king และ Emperor ที่เป้นคนไทยบ้างครับ
ก็ยังดีครับ
แต่ก็ทำให้รู้ว่า เราต้องพัฒนาต่อไปเพื่อให้มีบทบาท
ในการปกครอบ(หรือครอบครอง หรือควบคุม) ภาษาคอมพิวเตอร์ มากขึ้นครับ