การประมวลผลร้อยกรอง

ช่วงที่ผมใกล้จะเรียนจบนั้น รุ่นน้องมักจะแวะเวียนมาชักชวนผมพูดคุยบ่อยมาก ซึ่งคำถามประจำที่น้อง ๆ มักจะถามผมก็คือ … “พี่ไท้ ช่วยคิดหน่อยดิ ว่าจะทำโปรเจคจบอะไรดี?”

ถามคำถามแบบนี้กันบ่อยมากเลยตอนนั้น ก็อย่างว่าอ่ะครับ การจะจบวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้ เราก็ต้องฝ่าด่านสุดท้ายให้ได้ซะก่อน ต่อให้ได้เกรดจนกระทั่งมีสิทธิ์ได้เกียรตินิยมก็เท่านั้นแหล่ะ ถ้าหากว่าทำโปรเจคผ่านไม่ได้ก็จบเห่กัน

ที่น้อง ๆ มักจะมาถามผม ส่วนหนึ่งก็เพราะผมสามารถคิดหัวข้อโปรเจคให้มันสอดคล้องกับฐานะ, ศักดิ์ และสิทธิ์ของคนระดับวิทยการคอมพิวเตอร์ได้น่ะครับ แบบว่าไม่ง่ายไป และไม่ยากไป

ปรกติแล้วการเสนอหัวข้อโปรเจคเพื่อจบการศึกษา เป็นธุระของนักศึกษาอยู่แล้วที่จะต้องไปคิดหัวข้อของตัวเองมา แล้วก็อย่างที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าท่านอาจารย์ก็มักจะเคี่ยวจะตาย ถ้าหัวข้อไม่เข้าท่าก็ไม่ให้ผ่านแหง ๆ อยู่แล้ว

ดูเหมือนชีวิตนักศึกษานี่มันไม่มีอะไรจริง ๆ นะ ก็แค่ ….

  1. สอบให้ติด
  2. จ่ายค่าเล่าเรียนให้หมด
  3. สอบให้ผ่านทุกภาคการเรียน
  4. และทำโปรเจคจบให้สำเร็จให้จงได้

ก็แค่เนี้ย 4 ขั้นตอนเอง แต่มหาหินน่าดู

มีอยู่ครั้งนึงรุ่นน้องมาขอหัวข้อ ผมนึกครื้มอกครื้มใจก็เลยให้ไป ผมบอกว่าลองทำมั้ย ระบบประมวลผลร้อยกรอง!!!

ผมคิดว่าคนยุคสารสนเทศส่วนใหญ่บางคนอาจจะรู้จักร้อยกรองแต่ไม่ได้สนใจนัก ส่วนบางคนอาจจะไม่รู้จักด้วยซ้ำ คิดว่านะ เพราะมันไม่ได้มีส่วนช่วยในการทำมาหากินอะไรเลย

ถ้าใครอยากรู้ว่าอารยธรรมไทยของเรา มีรูปแบบของร้อยกรองยังไงบ้าง ขอแนะนำหนังสือเรียนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง รหัส TH256 ร้อยกรอง (Thai Poetry) ครับ อ่านดูแล้วจะรู้

กลับมาว่ากันต่อ ระบบประมวลผลร้อยกรองที่ผมเสนอรุ่นน้องไปนั้น คือการสร้างซอฟต์แวร์ฉลาด ๆ ขึ้นมาตัวนึง ซึ่งมันสามารถทำได้หนึ่งคุณสมบัติ หรือสองคุณสมบัติ นั่นก็คือ

  1. การเปลี่ยนบทร้อยแก้ว หรือข้อความทั่ว ๆ ไป ให้กลายเป็นบทร้อยกรอง และ
  2. การเปลี่ยนบทร้อยกรองต่าง ๆ ให้กลายเป็นบทร้อยแก้ว หรือข้อความทั่ว ๆ ไป

แหมะ ซอฟต์แวร์ตัวนี้ต้องเก่งจริง ๆ แฮะ เพราะนอกจากจะสามารถตัดคำไทยซึ่งถูกเขียนติดกันเป็นพรืดได้แล้ว ยังต้องเข้าใจความหมายของคำแต่ล่ะคำ เพื่อแปลงจากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว หรือร้อยแก้วเป็นร้อยกรองอีกด้วย

ตอนนั้นรุ่นน้องเลยถามว่า แล้วจะใช้ทฤษฎีอะไรล่ะ ถึงจะทำซอฟต์แวร์ที่ว่านี้ได้ ผมก็เลยโบ้ยไปว่า ก็ลองศึกษา Natural Language Processing ดูสิ วิชาแขนงนี้สามารถตอบโจทย์ได้ (สุดท้ายน้องคนนี้ยังอยากเรียนจบครับ เลยไม่เชื่อผม เปลี่ยนใจไปทำระบบสแกน Wire Frame แทน ก็โชคดีไป :-P)

จะสังเกตุเห็นนะครับว่า อะไรที่มันไทย ๆ มีให้เราสร้างเป็นซอฟต์แวร์ตั้งเยอะแยะ เรากลับมองข้ามมันไป ไม่ได้ใส่ใจมันซักเท่าไหร่ สาเหตุเป็นเพราะอะไร 🙂 อือม คงเป็นเพราะพวกเราเป็นนัก Customize กระมังครับ คือเรามัวแต่สนุกครื้นเครงกับการศึกษาและทดลอง IDE, Tools และคอมไพเลอร์ใหม่ ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยคนระดับ Top ของโลก จนลืมฉุกคิดอะไรบางอย่างไป

สมัยก่อนผมก็เคยเจอปัญหาแบบเนี้ยแหล่ะ คือฝึก Turbo Pascal จนคล่องเลย พอเขาออก Visual Basic มา ก็ฝึก Visual Basic จนคล่อง แล้วพอเขาออก Borland Delphi มา ก็ฝึกจนคล่องอีกเช่นกัน ตามเข้าไป ไม่จบไม่สิ้นซักที

สุดท้ายมันว่างเปล่า เพราะผมทำได้แค่ใช้มันจนคล่อง แต่ผมกลับไม่เคยตั้งโจทย์ให้กับตัวเองเพื่อนำ IDE พวกนี้มาตอบโจทย์เลย ผมเลยเปลี่ยน เปลี่ยนเป็นตั้งโจทย์แทน แล้วจึงเลือกเครื่องมือมาแก้โจทย์ครับ

ซึ่งการคิดเช่นนี้ทำให้ผมพบว่า บางครั้งโจทย์ที่ผมตั้งขึ้น แทบจะไม่จำเป็นต้องใช้ IDE หรู ๆ อย่าง Visual Studio .NET ด้วยซ้ำ ใช้แค่ Microsoft Excel บางทีก็พอแล้ว เป็นต้น

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผมจึงขอฝากโคลงสี่สุภาพเพื่อใช้เตือนใจนักพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างพวกเรา ดังนี้ครับ

ร้อยกรอง

[tags]ร้อยกรอง,ร้อยแก้ว,การประมวลผล,ภาษาธรรมชาติ,การประมวลผลภาษาธรรมชาติ,natural language processing[/tags]

Related Posts

7 thoughts on “การประมวลผลร้อยกรอง

  1. ใช่เลยครับพี่ อ.ของผมก็ชอบบ่นให้ฟังว่า เด็กไทยชอบมองผลก่อนดูเหตุ ชอบดูที่คำตอบก่อนตั้งคำถาม แล้วก็ไม่เจอสิ่งที่ถูกต้อง

  2. ก็มองผลก่อนดูเหตุ มันง่ายนี่นาน้องโอ

    เปล่าด่านะคุณ PatSonic แบบว่าแต่งโคลงสี่สุภาพมันยากอ่ะ มันต้องมีคำสัมพันธ์กันด้วย แถมต้องกำหนดไม้เอกไม้โทด้วย ก็เลยลงเอยเป็นแบบนี้แหล่ะ แหะ แหะ 😛

  3. เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ กับโคลงที่ว่ามา

    อีกตัวอย่างหนึ่งคล้ายๆ กัน คือ มีคนบอกว่าอยากทำเกม ใช้อะไรทำดี พอไปเห็นคนเขียน c++ ก็อยากเีขียนบ้าง แต่พอมาเห็นว่า python ก็ทำไ้ด้ ก็อยากเขียน python สุดท้ายเลยไ่ม่ได้อะไร

  4. มาเป็นกลอนเลยเว้ย
    โจทร์บางครั้งก็สำคัญกว่าคำตอบซ่ะด้วยซิ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *