จริง ๆ แล้วบล็อกนี้ผมจะเอาไว้โม้เรื่องซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียวครับ แต่ก็รู้สึกเหมือนกันว่าถ้าเราจะโม้ถึงแต่ซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้เบิ่งตาว่าเหตุและผลที่มีผลกระทบกับวงการซอฟต์แวร์ไทยเรานั้น มันมาจากทั้งการเมืองและเศรษฐกิจก็คงไม่ได้ เลยจำเป็นต้องโม้ถึงหน่อย คงไม่ว่ากันเน้อะ

ผมจะโม้ว่าเมืองไทยเรานั้น บริษัทซอฟต์แวร์ใหญ่ ๆ ของไทย ล้วนเป็นบริษัทประเภท “ให้คำปรึกษา” และ “รับจ้างทำของ” ทั้งสิ้น แล้วก็อย่างที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทใหญ่ ดังนั้นไอ้เรื่องจะทำซอฟต์แวร์เป็นซอง ๆ ออกมาขายปลีกเพื่อหวัง Economy of Scale (ขออภัยที่ด้นภาษาฝรั่ง งั้นแปลง่าย ๆ ว่าขายของให้เยอะชิ้น แต่ว่าแต่ล่ะชิ้นได้กำไรนิด ๆ หน่อย ๆ พอรวม ๆ กำไรสุทธิแล้วก็จะได้มหาศาล) พวกบริษัทซอฟต์แวร์ใหญ่ ๆ เหล่านี้ก็ไม่ยอมทำหรอก

อย่างที่เรารู้ว่า ณ พ.ศ. นี้ระบบเศรษฐกิจล้วนชะลอตัวไปหมด ประชาชนตาดำ ๆ อย่างพวกเราและบริษัทต่าง ๆ ก็ล้วนรัดเข็มขัด พยายามที่จะจ่ายให้น้อยลง แล้วเมื่อมันเป็นอย่างนี้บริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ ผู้ซึ่งทำเป็นแต่ “ให้คำปรึกษา” และ “รับจ้างทำของ” จะเอาอะไรยาไส้ล่ะครับเนี่ย

มันเป็นเรื่องแปลกอย่างนึงในโลกใบนี้นะครับ มันเป็นกันทุกประเทศเลยอ่ะดินั่นก็คือ ถึงแม้ว่าประชาชนจะไม่มีตังค์ บริษัทห้างร้านต่าง ๆ จะรายได้ถดถอย แต่องค์กรที่ปกครองประเทศมักจะมีตังค์เยอะแยะเสมอ (ก็ภาษีพวกเราเนี่ยแหล่ะที่ไปรวม ๆ กันอยู่ที่นั่น)

ดังนั้นเมื่อตังค์มันไปกองรวมกันอยู่ที่องค์กรที่ปกครองประเทศ บริษัทซอฟต์แวร์ใหญ่ ๆ ก็ต้องพุ่งไปเอาตังค์จากที่นั่นไงอ่ะดิ!!!

แล้วโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ของหน่วยงานราชการแต่ล่ะที่นี่ก็ไม่ใช่เล็ก ๆ นะครับ ระดับความซับซ้อนของระบบซอฟต์แวร์ซึ่งแต่ล่ะหน่วยงานต้องการก็สูงมาก แต่ทำงานให้หน่วยงานราชการมันก็ดีอยู่อย่างนึง นั่นก็คือ ยังไง ๆ ราชการก็ไม่เบี้ยวเราครับ เพียงแต่กว่าจะได้ตังค์มาอาจจะช้าหน่อย แต่เมื่อได้มาแล้วก็รวยเละกันเลยเชียวแหล่ะ

เกร็ดความรู้ ราคาสิ่งของที่ราชการจ่าย
ตู้โทรศัพท์ งบประมาณตู้ล่ะ 3,000,000 บาท
สะพานลอยปูน งบประมาณสะพานล่ะ 10,000,000 บาท

จากเกร็ดความรู้ข้างบน (ผมฟังเพื่อนโม้มาอีกที ผมเปล่าโม้เอง) จะเห็นว่า ของหลาย ๆ อย่างดูพื้น ๆ มาก แต่ทางหน่วยงานราชการก็มีงบจะจ่ายได้ (ด้วยราคาสูงซะด้วยสิ) ดังนั้นยิ่งเป็นซอฟต์แวร์ซึ่งมีความซับซ้อนสูง มีกลไกการทำงานที่หลากหลาย มันก็ต้องยิ่งแพงด้วยอ่ะดิ จริงมั้ย?

ผมยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการเข้าสังเกตุการณ์ การประกวดราคาโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับร้อยล้านบาทเลยครับ แต่ที่เคยเข้าสังเกตการณ์นั้นเป็นโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับไม่เกินสิบล้านบาท งั้นเล่าจากตรงนี้ดีกว่า

ประกวดราคา คือ การแข่งขันกันในเรื่องราคาและคุณภาพของสินค้า & บริการ โดยการระบุไว้ในเอกสารและปิดเป็นความลับ ระหว่างบริษัทเอกชนต่าง ๆ ที่ต้องการเข้าไปรับจ้างทำงานให้กับหน่วยงานราชการ ยิ่งคุณภาพตรงกับที่ต้องการ และราคาก็ต่ำกว่าทุก ๆ ราย ก็จะมีโอกาสชนะและได้รับงานจากหน่วยงานราชการนั้น ๆ มา

ปรกติแล้วทางหน่วยงานราชการ จะเป็นผู้เสนอความต้องการของตัวเองออกมาก่อนครับ ว่าต้องการให้บริษัทเอกชนมาประกวดราคาแข่งกัน เพื่อพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ให้กับหน่วยงานนั้น ๆ จะมีน้อยครั้งนักที่ผู้บริหารของบริษัทเอกชนเป็นผู้วิ่งเต้น กระทุ้งให้ระดับนโยบายของหน่วยงานราชการ ให้เกิดอยากจะได้ระบบซอฟต์แวร์มาใช้งานซะงั้น (น้อยอ่ะ)

ทางหน่วยงานราชการซึ่งจะจ้างให้บริษัทใหญ่ ๆ มาพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ให้ ก็ต้องมีการกำหนดสเป๊คของระบบที่ต้องการเหมือนกันครับ แล้วสเป๊คของระบบซอฟต์แวร์มันก็โหดไม่แพ้สเป๊คสร้างตึก หรือสเป๊คสร้างทางด่วนเลย คือมันโคตรจะละเอียดเลย (ราชการก็มีคนเก่งครับ ไม่ใช่ขี้ ๆ ร่างกันแต่ล่ะทีนี่หลังแอ่นเลย ทั้งคนทำระบบให้ตรงตามสเป๊ค กับคนตรวจรับงานหลังจากเสร็จ ว่าทำออกมาเหมือนกับสเป๊คหรือเปล่า)

ดังนั้น บริษัทไหนอยากจะแข่งก็ต้องทำตามสเป๊คที่ทางการกำหนดให้ได้ อีกทั้งยังต้องเสนอราคาให้ต่ำกว่าทุกจ้าวด้วย (ต่ำยังไงบริษัทที่ชนะประกวดราคา ก็เห็นกินอิ่มแปร้รวยเละเทะทุ้กที)

ผมเคยเจอแบบนี้นะ คือมีหลายบริษัทเลยที่รู้ตัวว่าตัวเองทำตามสเป๊คไม่ได้หรอก แล้วก็ยังจะดึงดันเข้าไปรับงาน เพราะคิดว่าเมื่อได้สัญญาการจ้างมาแล้ว ก็จะไปจ้างบริษัทผลิตซอฟต์แวร์จากอินเดียมาทำให้อีกต่อนึง (ฉลาดกันจริงนะคนไทย ไอ้เรื่องทำตัวเป็นนายหน้าเนี่ย)

หรือบางบริษัทยิ่งแย่กว่า คือไม่จ้างใครเลย จะทำเองนั่นแหล่ะ แต่ว่าทำตามสเป๊คไม่ได้ (คนมันดื้อน่ะ)

ก็อย่างที่บอกครับว่าราชการไม่ใช่ขี้ ๆ เขาก็มีคนเก่งของเขาเหมือนกัน เขาก็ไปสืบมาสิครับว่าบริษัทซอฟต์แวร์ที่เข้ามายื่นซองประกวดราคานั้น มีกำพืดยังไงบ้าง สืบซะละเอียดเชียว รู้ตั้งแต่ทุนจดทะเบียน, ผู้ถือหุ้น, กรรมการบริหาร, งบการเงิน, ชื่อเสียง และผลงานที่ผ่านมา (ราชการนี่บางทีก็น่ากลัวจนขนลุกเหมือนกัน)

ทีนี้ในเมื่อดื้อยังจะเข้าไป ก็ต้องเจอกับปฏิบัติการเชือดครับ!!!

เวลายื่นซองแล้วคณะกรรมการโครงการของทางการเขาก็จะตรวจสอบครับ แล้วก็นัดวันเวลาเพื่อให้บริษัทซอฟต์แวร์แต่ล่ะบริษัทไปตอบคำถามในที่ประชุม การเข้าไปตอบคำถามนั้นจะเข้าไปเดี่ยว ๆ หรือเข้าไปเป็นทีมก็ได้ และเข้าไปได้ที่ล่ะบริษัทตามวันเวลาที่กำหนด

ผมว่าบางทีหน่วยงานราชการเขาก็คงจะรู้สึกหงุดหงิดรำคาญและเสียเวลาเหมือนกับ กับบริษัทที่รู้ตัวว่าทำตามสเป๊คไม่ได้ แต่ก็ยังดื้อจะมาประกวดราคาเผื่อฟลุ๊กอีก ดังนั้นก็เลยโดนเข้าไป

วิธีการเชือดก็คือ คณะกรรมการจะพร้อมใจกันตั้งคำถามไปยังจุดที่บริษัทซอฟต์แวร์ดังกล่าวนั้น ไม่สามารถทำตามสเป๊คได้ แล้วก็จี้ถามลงไปหนัก ๆ ถามมันเข้าไป ถามจนกระทั่งคนตอบงี้หน้าหดลงไปเหลือสองนิ้ว กด presentation มือไม้สั่นไปหมดเลย

บางทีเห็นแล้วก็สงสารนะครับ แต่ผมว่าทางการเขาไม่ทำงี้ก็ไม่ได้ เพราะภาษีของประชาชนก็ควรจะเอามาซื้อของที่มันตรงกับความต้องการที่สุด ดังนั้นผมว่าบริษัทซอฟต์แวร์เมืองไทย ถึงจะเป็นบริษัทใหญ่ ๆ ก็เถอะนะ อย่าลักไก่เลยจะดีกว่า เพราะมันได้ไม่คุ้มเสียหรอก เกิดชนะประกวดราคาไป แล้วทำไม่ได้อย่างที่หน่วยงานราชการนั้น ๆ ต้องการ งานนี้ยุ่งแน่

เพราะวงการซอฟต์แวร์เมืองไทย มันไม่ได้ใหญ่โตอะไร ถ้าทำแล้วมีปัญหาขึ้นมา ก็คงจะได้อายกันทั้งวงการแน่ ๆ อ่ะครับ

[tags]ราชการ,การจัดการ,การสร้างซอฟต์แวร์,คอมพิวเตอร์,ประกวดราคา[/tags]

Related Posts

11 thoughts on “อิงแอบราชการ

  1. เพิ่งรู้เหมือนกันครับ แ่่ต่ระบบการตรวจสอบการประมูลอย่างงี้ก็ดีน่ะครับ แสดงถึงความมีประสิทธ์ภาพของระบบ งานที่ออกก็จะออกมาดูดีไปด้วย สุดท้ายแล้วประชาชนอย่างเรานี่และครับพลอยได้ครับประโยชน์ไปด้วย

    เปิดกะลาอีกแล้วงานนี้ ขอบคุณพี่ไท้ครับที่ช่วยมาเล่าให้ฟัง

  2. ตราบใดที่คนไทย ยังใช้ของเถื่อนกันอย่างสนุกสนาน บริษัท software ที่ขายชาวบ้านจริง ๆ มันโตไม่ได้อ่ะครับ เพราะคู่แข่งคือ โปรแกรมที่ใช้เงินทุนมากกว่าเราใช้เป็นหมื่นเป็นแสนเท่า ในการผลิด แต่ในเมืองไทยหาได้ในราคา รวม 50 โปรแกรม 80 บาท

    คู่แข่งไม่มีทางได้ผุดได้เกิดครับ

    ก็เลยต้องหันไปทำ custom program ที่หาซื้อ 50 โปรแกรม 80 บาทไม่ได้เพราะคู่แข่งคนอื่นสมน้ำสมเนื้อกว่าเยอะ

    ผมเห็นปัญหานี้หลังจากผมเขียน NuFile ( http://www.growlichat.com/NuFile.php ) แล้วเปิดให้ใช้ฟรีอ่ะครับ ผมขึ้เกียจเก็บตังค์ โปรแกรมเก่าชื่อ Document Palette เลิกทำไปเลย และก็ไม่มีคนขึ้นมาสู้จนทุกวันนี้ ทำให้การเริ่มต้นพัฒนาโปรแกรมในทำนองเดียวยากขึ้นหลายเท่า ก็เลยไม่รู้ว่าเป็นผลดีหรือผลเสียกันแน่

    คล้าย ๆ กับข้อเขียน against open source อันนึงอ่ะครับที่บอกว่า opensource จริง ๆ แล้วไม่ทำให้เกิด innovation โดยใช้เคลมคล้าย ๆ กับที่กล่าวมาข้างต้น

  3. ตู้โทรศัพท์ตู้ละ 3 ล้าน – -” สงสัยจังถ้าราชการเปิดให้แข่งกันประกวดราคา มันไม่ลงต่ำกว่านี้หรอ?

  4. มันจำเป็นครับคุณ Pat ผมว่านะ ถ้าเป็นเรื่อง connection ล่ะก็ คนราชการน่ะ เชื่อมโยงกันได้แยบยลยิ่งกว่าคนเอกชนอีก

    ประกวดราคาครับคุณ memtest ไม่ใช่ประมูล มันแบบว่าคนล่ะแบบกัน

    ซอฟต์แวร์ที่เอามาปล่อยในอินเตอร์เน็ต คงเก็บตังค์อะไรไม่ได้เรื่องได้ราวหรอกครับคุณ Tee อย่างที่รู้ ๆ กันอยู่อ่ะเน้อะ ว่าใคร ๆ ชอบของฟรีกันทั้งนั้นเล้ย

    มันก็ประมาณนี้แหล่ะครับคุณ nat3 รู้ ๆ กัน

  5. ถ้าเก็บตังค์ ได้เรื่องได้ราว ก็ได้นะครับ(แต่เก็บตังค์คนไทย ไม่ค่อย work ต้องทำอะไรที่มัน inter เพราะตลาดใน internet มันคือทั้งโลก) มันขึ้นอยู่กับ uniqueness ของ software อ่ะครับว่าหาแทนได้หรือไม่ คู่แข่งเยอะไหม ตอนที่ผมทำ growlichat ตอนนั้นไม่มีคู่แข่งอ่ะครับ แต่ NuFile จนป่านนี้คู่แข่งแบบสมน้ำสมเนื้อยังไม่เกิด(รู้สึกผิดนิด ๆ)

    ผมเคยลองช่วงนึง เอา donationware ตัวนึงทำเป็นมีล็อค อยู่ช่วงนึงเพราะอยากรู้ว่า มันจะต่างกันขนาดไหน
    ต่างกันมาก ๆ ๆ ๆ ครับ จาก อาทิตย์ละคน เป็นวันละ สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด คน แต่ในที่สุดแล้ว ก็ขึ้เกียจเก็บตังค์ เอาล็อคออกดีกว่า

  6. คุณ Tee ก็ Open Source ดิ ผ่านไปซักสองเดือน มีคนลอกโค้ดของคุณ Tee จนเข้าใจ รับรองได้ คราวนี้คู่แข่งเพียบเลย (เอ แบบนี้ดีไหวหว่า) 😛

  7. opensouce มัน code base เดียวกันอ่ะครับ ไม่ได้มี innovation เกิดขึ้นมากมายแต่อย่างไร

  8. ผมเคยได้ยินมาจากไหนนะ ว่า Open Source เป็นอุปสรรคทำให้ไม่เกิด Innovation…

  9. สำหรับคนที่เพิ่งเริ่ม การมีนวัตกรรมคงเป็นเรื่องยากครับ ก็คงต้องให้ลอก ๆ ไปพลาง ๆ ก่อน แล้วเดี๋ยวก็คงเก่งกันขึ้นมาเองครับ 🙂 ต้องใจเย็น ๆ ไม่ต้องรีบร้อนใด ๆ

  10. ชุมชน open souce ก็ไม่ได้เน้นไปที่ business นะครับ ถ้า องค์กรไหนคิดว่า open source ไม่สามารถตอบโจทย์ด้าน นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ก็ไม่ได้บีบบังคับให้ใช้ครับ แต่ เน้นไปที่การมีส่วนร่วมและเปิดโอกาสให้ เราสามารถศึกษาถึงการพัฒนา software ได้ หากเราไม่มี open source เราก็ไม่มีโอกาสได้รู้ว่า software บางประเภทเขียนขี้นมาได้อย่างไร อาทิ เช่น OS หรือ Office suite แต่ตอนนี้ จุดขายของ open source กลับกลายเป็นว่า ของแจกฟรี ไม่ต้องเสียค่า licence แทน โดยไม่ได้เน้นไปที่การ พัฒนา software แต่กลับเน้นไปที่กลุ่ม user ซึ่งในมุมมองของคนที่โปรโมท อาจจะมองว่าถ้าได้ใช้ เริ่มคุ้นเคยก็จะเริ่มศึกษาเพิ่ม แต่มันไม่ค่อยตรงประเด็นเท่าไหร่ แถมภาครัฐก็ไม่ได้สนับสนุนเท่าไหร่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *