ปรกติแล้วคนที่เรียนมาทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีในการออกแบบซอฟต์แวร์ วิธีในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่เรากลับพบว่าไม่เห็นมีรายวิชาไหนเลยแฮะ ที่สอนเราในเรื่องเกี่ยวกับวันหมดอายุของซอฟต์แวร์!!!
ตามธรรมดาแล้ววันหมดอายุมักจะใช้สำหรับอาหารและยารักษาโรค เพราะของพวกนี้มันใช้กิน ดังนั้นถ้ามันหมดอายุแล้วกินเข้าไป อาจทำให้เราเดี้ยงได้
การคาดการณ์หรือประเมิณถึงอายุขัยของซอฟต์แวร์นั้น ถือได้ว่าเป็นศาสตร์นึงที่จำเป็นต้องเรียนรู้ เพราะมันหมายถึงต้นทุนของการเสียโอกาส ที่เราจะต้องสูญเสียมันไปหากเราคาดการณ์ผิดแล้วลงทุนผลิตมันขึ้นมา
- ต้นทุนสูง, อายุขัยสั้น
- ต้นทุนสูง, อายุขัยยาว
- ต้นทุนต่ำ, อายุขัยสั้น
- ต้นทุนต่ำ, อายุขัยยาว
จะเห็นว่าแบบข้อ 1. นั้น ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะผลิตมันขึ้นมา ยกเว้นว่าผลตอบแทนที่ได้รับจะสูงมากหากประสบความสำเร็จ ซอฟต์แวร์แบบนี้มีอยู่แบบเดียวที่ผมรู้จัก นั่นก็คือ “เกมส์คอมพิวเตอร์”
การที่ซอฟต์แวร์มีอายุขัยสั้น มีช่วงอายุขัยที่แคบ ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มีสาเหตุมาจากการด้อยคุณภาพของตัวซอฟต์แวร์เองแต่ประการใด ซอฟต์แวร์ดังกล่าวยังทำงานได้ดีอยู่ … แล้วทำไมมันหมดอายุล่ะ?
การหมดอายุของซอฟต์แวร์มีสาเหตุใหญ่ ๆ มาจาก 2 สาเหตุเท่านั้น นั่นคือ กระแสความนิยมลดลง และ ถูกแทนที่ด้วยซอฟต์แวร์ทดแทน
ถ้าเราจะทำให้ซอฟต์แวร์ของเรามีอายุขัยที่ยืนยาว ก็คงมีอยู่วิธีการเดียวนั่นก็คือ อ่านสถานการณ์ให้ขาด แล้วผลิตมันออกมาตอนที่เริ่มมีกระแสความนิยม และผลิตมันออกมาตอนที่ยังไม่มีซอฟต์แวร์ใดที่จะมาทดแทนมันได้ ในระยะเวลาอันใกล้นั่นเอง
[tags]การสร้างซอฟต์แวร์,คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,วันหมดอายุ,กระแส,ทดแทน[/tags]
ส่วนใหญ่ที่ผมทำซอฟเเวร์ ผมมักจะมี ทริกที่จะช่วยถนอมอายุ ซอฟเเวร์ของผมให้มีอายุยืนยาวมากกว่าปรกติ เพราะพอผมทำเสร็จส่งเสร็จก็เอามันมาดองเก็บไว้นั้นเอง 555
คุณ bin เล่นมุขนี้ ผมก็เอ๋อสิครับ
“Every program must have a purpose or it is deleted”
-Indian guy (The Matrix Revolutions)