เกร็ดคอมพิวเตอร์ในหนัง Transformer

คิดว่าใครหลาย ๆ คนน่าจะได้ดูหนังเรื่อง Transformer กันไปบ้างแล้วนะครับ ไอ้หนังหุ่นยนต์ที่แปลงร่างได้ แล้วก็สู้กันจนตึกพังเป็นแถบ ๆ นั่นอ่ะ

ผมจับสังเกตได้ว่าในหนังเรื่องนี้นั้น มีอะไรที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพียงแค่ 3 เรื่องเท่านั้น นั่นก็คือ …

1. เรื่องเกี่ยวกับการทะลุทะลวงเจาะระบบคอมพิวเตอร์ของพวก Decepticon โดยใช้หลักการ Brute Force Attack ซึ่งเรื่องนี้ผมคงไม่เล่า เพราะไม่มีความรู้จึงไม่ขอเล่า 😛 (เล่นง่าย)

2. เรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ พยายามติดตามการเจาะระบบของพวก Decepticon แล้วก็แปลกใจมากเมื่อพบว่า พวก Decepticon สามารถเจาะระบบได้อย่างรวดเร็วเหลือเกิน จนประหนึ่งดั่งรู้แจ้งในทฤษฎี Genetic Algorithm ยังไงยังงั้น … แต่ก็อีกนั่นแหล่ะ เรื่องนี้ก็ไม่เล่า เพราะจำได้ว่าเคยเล่าไปแล้ว อ้าว!!

3. เรื่องที่หุ่นยนต์ฝ่าย Autobot ที่ชื่อว่า Bumblebee เกิดใบ้รับประทานขึ้นมาในตอนแรก เพราะกล่องเสียงเจ๊ง แต่จำเป็นจะต้องพูดกับพระเอก ก็เลยใช้วิธีเลือกเสียงประโยคพูดจากในวิทยุ มาต่อ ๆ กันให้ได้ใจความที่ตนเองต้องการจะสื่อความกับพระเอก แล้วเปิดเสียงประโยคเหล่านั้นให้พระเอกฟัง!!!

Bumblebee

ซึ่งข้อ 3. นี่แหล่ะที่ผมจะเอามาโม้ ในหัวข้อนี้!!!!

ที่คิดจะโม้ก็เพราะว่ามันเป็นเรื่องแปลกแยกดี เนื่องจากปรกติแล้วในทฤษฎีทางคอมพิวเตอร์นั้น การจะให้คอมพิวเตอร์พูดกับมนุษย์ได้ สิ่งสำคัญก็คือการนำหน่วยเสียงพูดมาต่อกัน โดยหน่วยเสียงพูดนั้นเป็นระดับ “ครึ่งพยางค์”, “พยางค์” หรือว่า “คำ” จากนั้นเมื่อต่อหน่วยเสียงแล้ว จึงใช้สมการทางคณิตศาสตร์ ช่วยกรองสัญญาณระหว่างหน่วยเสียงทิ้งไป เพื่อให้เสียงที่เปล่งออกมาเนียนที่สุด

แต่ในเรื่องนี่พี่แกเล่นยกทั้งประโยคในวิทยุมาต่อ ๆ กันเป็นพรืดเลย แถมแต่ล่ะประโยคก็มีคำพูดบางคำที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อความที่ต้องการสื่อสารปนมาด้วย ซึ่งถึงแม้ว่าประโยคมันจะมั่ว ๆ แล้วก็กระท่อนกระแท่นก็ตาม แต่ก็ยังพอจะสื่อสารให้เข้าได้อยู่ดี

พอเจองี้เข้าไป ผมก็เลยไม่รู้จะเรียกทฤษฎีนี้ว่าอะไรดี จะเรียกว่า Natural Speech Processing ก็ไม่ได้ หรือจะเรียกว่า Speech Segmentation Synthesis ก็ไม่ดีอีก งงจริง ๆ

[tags]Transformer, คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์, หุ่นยนต์, Speech, เสียงพูด[/tags]

Related Posts

8 thoughts on “เกร็ดคอมพิวเตอร์ในหนัง Transformer

  1. ความจริงไม่ใช่ทฤษฐีอะไร แต่เป็น error ของ Bumblebee เอง ทำให้มีประโยคที่ไม่ใช่ใจความติดมาด้วย 🙂

  2. ผมกลับสนใจเรื่องแรกมากกว่าครับ เพราะ Brute Force เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ผมใช้ค่อนข้างบ่อย (Brute Force ไม่จำเป็นต้อง Attack อย่างเดียวครับ) และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์แรง ๆ และต้องรู้จักใช้ทริกส์

    อย่างการออกเสียงพยางค์หลายหมื่นเสียงของพี่ไท้เอง ผมก็มองว่าเป็น Brute Force อย่างหนึ่ง ซึ่งหากตัดกรณีที่เป็นไปไม่ได้ออก บางทีอาจะเหลือเพียงไม่ถึงห้าสิบเปอร์เซ็น

    แต่ผมว่าจะให้ง่ายกว่า ไป Brute Force ที่คำก่อน เพราะคำในภาษาหนึ่ง ๆ จะมีไม่กี่หมื่นคำ และในไม่กี่หมื่นคำนี้ จะมีพยางค์ที่ซ้ำกันเยอะมาก (อาจใช้ Regular Expression ตัดพยางค์ของคำ ที่มีเสียงซ้ำกันได้) ตัดไปตัดมา ผมคิดว่าจำนวนพยางค์อาจอยู่แค่หลักพัน มันก็จะช่วยลดภาระต่าง ๆ ลงไปได้มากทีเดียว

  3. ผมคิดว่าทฤษฎีไม่ใช่ปรมัตถ์นะ มันคือสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นมาอยู่ดี อาจจะไม่สามารถไปใช้แทนสิ่งที่อีกโลกหนึ่งใช้อยู่ เนื่องจากพื้นฐานที่ต่างกัน แต่เราอาจจะคิดไปเองว่ามันควรจะเหมือนกัน?

  4. อ๋า จริงดิคุณ xinexo งี้ผมก็เข้าใจผิดดิ

    โฮ่ คุณ aoyoyo กับคุณ oakyman ตั้งชื่อได้ใกล้เคียงกันจริง ๆ

    จริง ๆ ก็อยากสนใจ Brute Force เหมือนกันครับคุณโบว์ แต่ผมด้อยเรื่องนี้จริง ๆ อ่ะ เลยบ่มีปัญญาโม้ T-T เศร้าจิต

    เอ๋ อือม ๆ ค้น ๆ อ้อ เจอแล้ว ปรมัตถ์ = ความจริงโดยความหมายสูงสุด 😛 คุณ wat เล่นคำพระเลยเหรอเนี่ย?

  5. อืมจะเป็นไรมั๊ย ถ้าผมบอกว่าดูเอามันส์อย่างเดียว แหะๆ

    แต่ผมก็ได้มาประโยคนึงนะครับว่า

    “ถ้าไม่เสียสละ ก็ไม่ชนะ”

    โดนเป็นที่สุด 🙂

  6. คงต้องดูใหม่อีกรอบเพราะไม่รู้เรื่องเลย มัวแต่สนใจกิ๊กที่พาไปดูด้วย 555

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *