การประยุกต์ “ควอนตัม” ในทางคอมพิวเตอร์

ช่วงนี้ผมกำลังพยายามทำความเข้าใจกับ Qubit ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ในการจัดเก็บสารสนเทศของระบบคอมพิวเตอร์แบบควอนตัมอยู่ครับ อ่านแล้วก็งง งงแล้วก็พยายามอ่าน จนน่าจะเข้าใจอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ได้ในระดับนึง

ดูเหมือนว่าทฤษฎีทางคอมพิวเตอร์ชั้นสูงในช่วงหลัง เริ่มให้การยอมรับกับ “ความไม่แน่นอน” มากขึ้นครับ ซึ่งประเด็นมันคงจะอยู่ที่ การแก้โจทย์ปัญหาในปัจจุบันนั้น มันใช้เพียง “ความแน่นอน” อย่างเดียวในการแก้โจทย์ไม่ได้ ทำให้จำเป็นที่จะต้องประยุกต์ให้คอมพิวเตอร์ ยอมรับผลลัพท์ที่ให้ค่า “ความคล้าย”, “ความสัมพัทธ์” และ “ความไม่แน่นอน” มากขึ้นแทน

เท่าที่ผมอ่านทฤษฎีทางควอนตัมคอมพิวเตอร์มา ทำให้สามารถสรุปแนวโน้มของทฤษฎีทางคอมพิวเตอร์ในอนาคตได้ประมาณนี้ครับ

1.  ทฤษฎีความน่าจะเป็น จะถูกนำมาใช้ร่วมกับทฤษฎีทางคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง เพราะเป็นทฤษฎีที่ช่วยอธิบาย “ความไม่แน่นอน” ได้ดี

2.  การเรียกใช้ค่าอะไรซักอย่างนึง จะเรียกในลักษณะ “ค่าคงที่” เดี่ยว ๆ ไม่ได้อีกต่อไป แต่จะต้องเรียกใช้ในลักษณะของ “ชุดค่าคงที่”

3.  “ชุดค่าคงที่” แต่ล่ะชุด ค่อนข้างจะเล่นตัวมาก เพราะไม่ยอมให้อ้างอิงได้ตรง ๆ แต่จะให้อ้างอิงได้โดยวิธีอ้อม ๆ ผมจะขอยกตัวอย่างโดยใช้บทสนทนานี้

  • ผม – คุณเท่ห์ ปีนี้คุณอายุเท่าไหร่แล้ว?
  • คุณเท่ห์ – ปีนี้ผมอายุน้อยกว่าคุณศักดิ์สองปีครับ
  • ผม – คุณศักดิ์ ปีนี้คุณอายุเท่าไหร่แล้ว?
  • คุณศักดิ์ – ปีนี้ผมอายุมากกว่าคุณเท่ห์สองปีครับ
  • ผม – ???? (แล้วกูจะรู้มั้ยเนี่ย?)

4.  ผลลัพท์ที่ได้จากการคำนวณด้วยทฤษฎีคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ จะไม่ใช่ผลลัพท์แบบเป๊ะ ๆ อีกต่อไป แต่จะเป็นอะไรที่ไม่แน่นอน ให้ได้แต่ค่าความคล้าย ค่าความใกล้เคียง แล้วต้องมาประเมินกันเองว่าจะยอมรับค่าเหล่านั้นหรือเปล่า

5.  ผลลัพท์ที่ได้อาจจะไม่เหมือนกันในแต่ล่ะครั้งที่คำนวณ ถึงแม้ว่าจะคำนวณด้วยโมเดลทางคณิตศาสตร์เดียวกัน และคำนวณโดยใช้ข้อมูลนำเข้าชุดเดียวกันก็ตาม

โดยสรุปแล้วทำให้ผมจับประเด็นได้อย่างนึงนั่นก็คือ ทฤษฎีทางคอมพิวเตอร์ ชักจะไม่ใช่วิทยาศาสตร์เข้าไปทุกวันแล้วครับ

[tags]ควอนตัม, คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์, ประยุกต์, สมมติฐาน[/tags]

Related Posts

7 thoughts on “การประยุกต์ “ควอนตัม” ในทางคอมพิวเตอร์

  1. ถ้าอย่างนั้นกำหนดให้คุณศักดิ์อายุ หนึ่งปีเลยครับ
    คุณเท่ห์จะได้อายุลบหนึ่งปี

    :p

  2. เอาล่ะซิเมื่อค่าเริ่มต้นของทุกสรรพสิ่งในโลกของคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนจาก Bit เป็น Qubit
    อะตอมเล็กสุดนี้อาจจะไม่ได้มีค่าเพียง 0 และ 1 อีกต่อไป (เป็นได้ทั้ง 0 และ 1 หรือ superposition ในเวลาเดียวกัน) เป็นการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างครั้งไหญ่ที่สุดเลยก็ว่าได้ คงต้องรอดูกันต่อไป

    ปล.Quantum Computer เป็นโปรเจ็คที่สองของบริษัท Quantum Television รึเปล่า
    เจ้าพ่อ Abdominizor ในอดีต รู้สึกว่ามี CEO ชื่อ จอร์จ น่ะอิอิอิ

  3. ทุกสิ่งในโลกไม่มีความแน่นอนเสมอไป….พุทธศาสนา สอนมาหลายพันปีแล้ว..
    ฝรั่งเองเพิ่งจะรับรุ้….คิดว่าทุกสิ่งสามารถพิสูจน์ได้….ท้ายที่สุดก็พิสูจน์ไม่ได้

  4. แล้วมันเอามาประยุคใช้ความไม่แน่นนอนในงานที่แน่นอนอย่างคอมพิวเตอร์ยังไงครับ

  5. อืม อืม อืม

    อุตสาห์ว่า คอมพิวเตอร์เป็นอะไรที่มีเหตุมีผลแล้วนะ

    ยังมีแบบนี้อีกหรือครับเนี่ย

    งั้นก็แสดงว่า จุดกำเนิดของ The one ใน Matrix เวอร์ชันแรก มันเริ่มจากตรงนี้หรือเปล่าครับ

  6. 555 คงต้องอย่างงั้นอ่ะครับคุณเอ คือประมาณว่า ดูเหมือนว่า มันต้องมีอะไรซักอย่างนึงเป็นตัวหลักอ่ะครับ อันอื่น ๆ ถึงจะอ้างอิงได้

    เท่าที่ทราบ ของพวกนี้ยังมีแต่อยู่ในสถาบันวิจัยระดับชาติอ่ะครับคุณ memtest ส่วนในเชิงพาณิชย์คงต้องรอไปเล้ย

    เอวังครับคุณ ninemark

    ได้รู้มาว่า การที่มันหาความแน่นอนไม่ได้ ทำให้มันเป็นค่าอะไรก็ได้ ซึ่งก็เลยทำให้เอามาประยุกต์กับการถอดรหัส ที่ถูกเข้ารหัสอย่างสลับซับซ้อนได้ในพริบตาอ่ะครับ เพราะแทนที่จะมานั่งไล่หาทีล่ะรหัส มันก็เป็นมันทุกรหัสมันซะเลยอ่ะครับคุณ dsicoveryman

    อ๋า tag อะไรก็ไม่รู้ แต่ผมก็จะรับไว้ก่อนแล้วกันนะคุณ aoyoyo

    โอ้ว สงสัยจะประมาณนั้นครับคุณ Audy แต่เท่าที่ดูในหนัง The Matrix นะ ทำให้ผมจับประเด็นได้อย่างนึงว่า จักรกลในเรื่องนั้น มันเหนือล้ำจริง ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *