การแปลงซอฟต์แวร์เป็นทุน

ธุรกิจไม่สามารถจะขับเคลื่อนได้เลยถ้าไม่มีทุนตั้งต้น เพราะทุนตั้งต้นเป็นปัจจัยสำหรับจัดหาวัตถุดิบ จัดจ้างแรงงาน และจัดซื้อเทคโนโลยีที่สำคัญในการผลิตและการบริการ

ถ้าอยากได้ทุนอันเกิดจากการแปลงซอฟต์แวร์เป็นทุน เราก็สามารถจะทำได้ (ตามทฤษฎี) โดยขอกู้ผ่านธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Bank รู้สึกว่าต้องเขียนแผนธุรกิจแนบไปกับคำขอกู้เงินด้วยนะ เห็นเขาว่าอย่างนั้น!!!

แต่เรื่องจริงตลอดหลายปีที่ผ่านมาก็คือมันเป็นเรื่องของทฤษฎี เอาเข้าจริงแล้วไม่มีใครปฏิบัติกัน เพราะอะไร? สงสัยคงเป็นเพราะความน่าเชื่อถือบ้างล่ะ เพราะมูลค่าของซอฟต์แวร์ที่จะเอามาค้ำประกันเงินกู้มันไม่มีคุณค่าพอบ้างล่ะ หรือแม้กระทั่งเพราะรัฐบาลไม่ได้สนับสนุนอย่างต่อเนื่องบ้างล่ะ เป็นต้น

จริง ๆ แล้วภาครัฐน่าจะเปลี่ยนใหม่นะ คือในเมื่อรู้อยู่แล้วว่าการแปลงซอฟต์แวร์เป็นทุนน่ะ ในทางปฏิบัติแล้วมันทำไม่ได้ง่าย ๆ งั้นเปลี่ยนใหม่ดีกว่ามั้ย? เปลี่ยนนโยบายเป็นอนุญาตให้บริษัทสามารถนำซอฟต์แวร์ที่ตนเองผลิตขึ้นมา มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้น่ะ น่าจะดีกว่าเน้อะ

เพราะในเมื่อปล่อยกู้ให้ลำบาก งั้นก็ขอเสียภาษีน้อยหน่อยก็แล้วกัน หรือถ้าให้ดียิ่งขึ้นไปอีกล่ะก็ ก็ขอให้เอาซอฟต์แวร์มาเครดิตภาษีได้ยิ่งดี สิ้นปีภาษีจะได้ให้บริษัทไปขอคืนภาษีบ้าง ก็ไม่เลวเหมือนกัน

[tags]ซอฟต์แวร์, คอมพิวเตอร์, ทุน, การแปลง, สมมติฐาน[/tags]

Related Posts

3 thoughts on “การแปลงซอฟต์แวร์เป็นทุน

  1. มันอาจจะกลายเป็นแรงกระตุ้นให้มีคนผลิตซอร์ฟแวร์ห่วยๆออกมา เพียงเพื่อลดภาษีก็เป็นไปได้นะครับ ก็ไม่ได้มีผลอะไรกับผู้บริโภคมากนัก (เพราะคงไม่ซื้อของห่วย) แต่จะกลายเป็นภาระของรัฐบาลไป

    เมืองไทยนี่มี Angels http://en.wikipedia.org/wiki/Angel_investors ไหมนะ

  2. panuta – ถ้ามี bug ผู้บริโภค แจ้ง สคบ. ต่อไปที่ สรรพากร เรียกเก็บย้อนหลังตั้งแต่วันขอคืนภาษีครับ (โหดไปมั๊ยเนี๊ยะ)

  3. รู้สึกว่าผมจะคุ้น ๆ ศัพท์ Angels นะ เหมือนผ่านตาว่าคิโยซากิ ซึ่งเป็นคนแต่งหนังสือ “พ่อรวยสอนลูก” จะมีกล่าวถึงเหมือนกันอ่ะคุณ panuta

    โหดนะเนี่ยคุณ patr อิ อิ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *