เดี๋ยวนี้การทำ outsourcing ซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นการ outsourcing เพื่อการสร้างซอฟต์แวร์ หรือการ outsourcing เพื่อการดูแลรักษาซอฟต์แวร์นั้น ชักจะเป็นปัญหาที่ถูกถกเถียงกันในวงระดับนโยบาย อย่างเป็นเรื่องเป็นราวแล้ว
ด้วยเหตุเพราะว่าในตอนแรกนั้น ทฤษฎีการ outsourcing อธิบายเราไว้อย่างสวยหรูว่ามันจะช่วยทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง อันเนื่องจากความคิดที่ว่าให้คนที่เขาทำเป็น มารับไปทำดีกว่า เราจะได้เอาเวลาที่เหลือไปทำอย่างอื่นที่เราถนัด
ซึ่งส่วนใหญ่ก็เหมือนกันหมด นั่นก็คือบริษัทที่รับงาน outsourcing ย่อมพึงพอใจมากกว่า หากสามารถรับ outsourcing แบบเต็ม solution ไปได้ ไม่ใช่รับเฉพาะส่วนครึ่ง ๆ กลาง ๆ เพราะความจริงก็คือหากรับมาครึ่ง ๆ กลาง ๆ แล้วจะคิดกำไรได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่คุ้มทุน หรืออาจจะขาดทุน
องค์กรหรือบริษัทก็ไว้วางใจ ทำการ outsourcing การสร้างหรือดูแลรักษาซอฟต์แวร์ในส่วนที่เราไม่ถนัดไปให้ แต่ปรากฎว่าสิ่งที่ทฤษฎีทาง outsourcing ไม่ได้บอกเอาไว้ แต่ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์บอกเอาไว้นั่นก็คือ เมื่อใดก็ตามที่ไม่มีการแข่งขัน มีการผูกขาดเกิดขึ้น ก็ย่อมสามารถที่จะกำหนดราคาได้ตามใจชอบ
ปีแรกคิดราคา outsourcing สามล้านบาท, ปีถัดมาก็คิดราคาเท่าเดิม พอมาปีที่สามคิดราคาใหม่เป็นยี่สิบล้านบาท … ทำไมกล้าคิดราคาแพงขนาดนี้???
สาเหตุคงเป็นเพราะบริษัทที่รับ outsourcing เหล่านั้น มั่นใจแล้วว่าตัวเองผูกขาดที่จะสร้างซอฟต์แวร์หรือดูแลรักษาระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าวได้แต่เพียงผู้เดียว อือม ซึ่งมันก็เป็นความจริง เพราะกระบวนการในการสร้างหรือดูแลซอฟต์แวร์นั้น ต่อให้มีการทำเป็นเอกสารไว้อย่างดีเพียงใด ยังไงการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลมันก็ย่อมส่งผลกระทบในภาพรวมอยู่ดี
แล้วผู้สร้างหรือผู้ดูแล มันก็ไม่ใช่คนเพียงคนเดียวซะด้วยสิ … คนเป็นร้อยคน … มันย่อมส่งผลกระทบเป็นธรรมดา!!!
ตอนนี้เลยเปลี่ยนความคิดใหม่ ไม่เอาแล้ว ไม่ outsourcing เต็ม solution แล้วเปลี่ยน ๆ … เปลี่ยนเป็นทำให้คนของตัวเองเก่งขึ้นดีกว่า แต่ไม่ใช่เขียนโปรแกรมเก่งขึ้นนะ ให้เก่งขึ้นทางด้าน functional ให้มาก ๆ คือมีความรู้ความสามารถในการเขียนพิมพ์เขียว, ให้เขียน functional specification เก่ง ๆ และที่สำคัญต้องสามารถเล่าเรื่องได้อย่างเป็นลำดับครบถ้วนด้วย
จากนั้น outsourcing ส่วนที่เป็นการเขียนโปรแกรมให้บริษัทข้างนอกรับไปก็พอ แบบนี้ต้นทุนลดลงเยอะเลย เพราะพิมพ์เขียวถูกสร้างโดยคนของเราแล้ว ความรู้กับทักษะก็อยู่กับคนของเรา ดังนั้นบริษัทที่รับ outsourcing เฉพาะส่วนที่เป็นการเขียนโปรแกรมก็จะมาต่อรองโก่งราคาไม่ได้ เพราะถ้าโก่งราคาก็สามารถหาบริษัทใหม่ให้มาเขียนโปรแกรมได้เลย ไม่ต้องง้อ เพราะพิมพ์เขียวอยู่กับเราทำโดยคนของเรา แบบนี้ดีกว่า
สุดท้าย การหายใจโดยจมูกของตัวเอง ดีที่สุด ราคาถูกที่สุด และเสี่ยงน้อยที่สุด
[tags]คอมพิวเตอร์,การจัดการ,application,management,outsourcing,ซอฟต์แวร์[/tags]
ไม่ผูกขาด ไม่ขาดทุน คราวนี้ Outsourcing ต้องคิดกลยุทธ์ไม่ซะแล้ว
พวกเขาก็ต้องถอยซักสองสามก้าวครับคุณ Thxmom โดยการตัดใจ ยอมแยกขายเป็น solution บ้าง ไม่งั้นหากินลำบาก
แล้วถ้าบริษัที่ outsource ไปเป็น บริษ้ท ลูกของเราเอง
หรือเถ้าแก่ คนเดียวกัน จะทำไงดีครับพี่
ก็ไม่ต้องทำอะไรสิครับคุณ copywriter กระเป๋าซ้ายเข้ากระเป๋าขวา ไม่ต้องคิดมากเลย ^-^