ทุกวันนี้เว็บไซต์ดัง ๆ อันดับต้น ๆ ของเมืองไทยล้วนใช้ระบบปิดที่ตนเองสร้างขึ้นครับ ผมหาแทบไม่เจอเลยนะว่าจะมีเว็บไซต์ไหนที่ยอมใช้ Opensource Web Application เป็นส่วนกลไกหลัก หรือส่วนกลไกแสดงผลเลย อย่างมากก็ยอมใช้แค่เป็นกลไกฉากหลัง อย่างเช่น Apache หรือ MySQL เป็นต้น
น่าจะถือว่าเป็นความท้าทายนะ หากเราสามารถนำเอา Opensource Web Application มาทำเป็นส่วนกลไกหลักหรือกลไกแสดงผล แล้วผลักดันให้ Web Application ดังกล่าวก้าวขึ้นมาเป็นอันดับต้น ๆ ของเมืองไทยได้
ผมจะเอ่ยคำว่า “Opensource Web Application” บ่อยมากในหัวข้อนี้ จึงขออนุญาติเรียกว่า “OWA” แทน
จุดที่เป็นประเด็นคงเป็นที่ระบบของ OWA เอง เนื่องจากเดี๋ยวนี้ OWA มีการแบ่งส่วนของตัวเองที่ชัดเจน โดยประกอบด้วย …
- กลไกหลัก ซึ่งเป็นส่วนของโค้ดที่สำคัญ ในการทำให้ระบบทำงานอย่างที่มันควรจะเป็น
- Skins หรือ Theme ซึ่งเป็นส่วนสำหรับแสดงผล เป็นส่วนที่เปิดให้ปรับแต่งได้ตามที่ต้องการ
- Plugins หรือ Extensions ซึ่งเป็นกลไกเสริม ที่เปิดให้ปรับแต่งระบบเพิ่มเติมได้ โดยไม่ต้องไปแตะต้องกับโค้ดในส่วนของกลไกหลัก
ลักษณะทั่วไปที่เราจะพบเกี่ยวกับ OWA ก็คือ เราจะรู้สึกว่ามันถูกปรับแต่งมาดีอยู่แล้ว เราอยากจะใช้มัน แต่ถ้าเว็บอื่นก็ใช้มันแล้วไม่ได้ปรับแต่ง งั้นก็หมายความว่ามันจะกลายเป็นของโหลไป ดูไม่มีเอกลักษณ์เป็นตัวของตัวเองเลย ดังนั้นก็เลยกลายเป็นเรื่องลำบาก ที่จะต้องมาดิ้นรนปรับแต่งให้มันแตกต่างจากต้นฉบับที่มันเป็น
บางคนก็อาจจะปรับแต่งด้วยการเปลี่ยนโทนสี บ้างก็ปรับแต่งด้วยการใส่ภาษาไทยแทนที่ภาษาอังกฤษ บ้างเก่งหน่อยก็เปลี่ยนการแสดงผลแบบยกชุดไปเลย แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถเชิง PHP และ CSS ว่าจะมีทักษะมากน้อยแค่ไหน
ปัจจุบันเราจะพบว่าเมืองไทยมีชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์อยู่หลายแห่ง แต่ทุกแห่งจะเหมือนกันนั่นก็คือ ทุกคนจะเข้ามาแลกเปลี่ยนกันเฉพาะการโค้ดเชิงเทคนิค แต่น้อยคนนักจะเข้ามาคุยกันเรื่องการปรับแต่งเพื่อการแสดงผล!!!
โดยสรุปแล้ว ผมคิดว่าการจะทำให้ OWA ก้าวหน้าแพร่หลายในเมืองไทย จุดสำคัญคงอยู่ที่การสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับ OWA ว่าเป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ไม่ใช่ของโหล เป็นระบบที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลได้อย่างไม่ยากนัก และมีชุมชนที่พร้อมจะบอกเล่าแลกเปลี่ยนวิธีการให้รับรู้กัน ว่าจะปรับแต่งรูปแบบการแสดงผลของ OWA ที่ตนเองเลือกมายังไง ให้มีลักษณะที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของตนเองครับ
ผู้ชายหลงใหลรูปลักษณ์ เพราะใช้สายตารับรู้ความหลงใหล
ผู้หญิงหลงใหลสำเนียงไพเราะ เพราะใช้ใบหูรับรู้ความหลงใหล
ทั้งผู้ชายและผู้หญิงล้วนมีความหลงใหลไม่แตกต่างกัน
[tags]opensource,web,application,คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์[/tags]
ที่พี่ไท้ กล่าวเรื่องรูปลักษณ์ ผมเข้าใจว่าต้องเป็น web graphic design แหง ในความรู้สึกผม พบว่าเวบมาสเตอร์ไทยส่วนใหญ่มุ่งไปที่ web programming มากกว่า การออกแบบหน้าตาของ web application เลยไม่ค่อยถนัด
เห็นด้วยกับคุณ Waipot
พอใช้ drupal แล้วทุกอย่างมันรวดเร็วจนส่วนที่กินเวลาที่สุดคือออกแบบหน้าตาเนี่ยล่ะครับ
ติดตามอย่างต่อเนื่องครับ ^^
ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ . . การเปิดเผยกลไกการทำงานของระบบให้สาธารณเห็นได้
ผมว่าเป็นความเสี่ยงในระดับความปลอดภัยระบบครับ
Stamp — ที่ผมเข้าใจคือ OSS มันก็เปิดเผยระบบกลไกการทำงานแบบละเอียดยิบอยู่แล้วนี่ครับ อยู่ที่จะนั่งแกะหรือศึกษากันไหวหรือเปล่า
เริ่มจากคุณ peetai ก่อนดีไหมคับ ^^
ทุกท่าน – ผมเก่งแต่โม้จริง ๆ ครับ ^-^ ดังนั้นไม่ต้องเรียกให้ผมทำอะไรครับ เพราะผมทำไม่เป็น เป็นแต่โม้
ปัญหาหลักคือเรื่อง designer นี่แหละครับ… ผมเองในฐานะที่ทำงานในสายนี้โดยตรง (xhtml & css designer) และก็รู้จักคนหลายๆ คนในสายงานด้านนี้.. หาคนที่จะ modify ระบบ opensource เช่น drupal หรือ wordpress ให้ออกมาตรงตาม layout ที่ designer ออกแบบไว้นี่ ในประเทศไทยแทบนับหัวได้… แล้วยิ่งค่าแรงของ designer เมืองไทยที่ถูกกดให้ต่ำลงๆ … จนพวกเขาไม่มีเวลาไปเปิดรับหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น css หรือ xhtml ได้ เพราะเขาต้องรีบหางานมาเลี่้ยงปากท้อง…
สุดท้าย..ในกลุ่ม web agency ในเมืองไทย…ก็ยังใช้ table เป็นหลักกันอยู่ดี… ส่วนพวกที่ทำ xhtml และ css ได้ (ตอนนี้เริ่มมีเรื่อง WAI เพิ่มเข้ามา) ก็หันไปจับลูกค้าต่างประเทศดีกว่า… เงินดีกว่า งานมีมาตราฐานกว่า (มาตราฐานในเรื่องการออกแบบ) และที่สำคัญ สายงาน css designer นี่จะแยกออกมาเป็นอีก 1 สายงานเลย ไม่ใช่ควบรวมไปกับ graphic designer (ผมอธิบาย แล้วงงไหม?)
ทีนี้ปัญหาที่ตามมาที่ผมเจอก็คือ โปรแกรมเมอร์.. ใช่ครับ drupal หรือ wordpress มี plug-in ให้เราเอามาเสริม หรือเขียนเพิ่มเติมให้ตรงตาม function ที่เราต้องการ… แต่… เขาเหล่านั้นก็ต้องมาเรียนรู้ว่าจะเขียน merge เข้าไปกับระบบได้อย่างไร นี่แหละคือสิ่งสำคัญ เพราะ โปรแกรมเมอร์เก่งๆ แค่รับงานมาแล้วเอา module ที่เคยทำไว้แล้วมาโมเพิ่มอีกนิดหน่อย ก็เอาไปขายกินต่อได้.. แล้วก็รับจ๊อบใหม่มาทำต่อ… หาเงินเลี้ยงปากท้องกันไป แล้วเขาจะมาเสียเวลามาพัฒนาระบบต่อจากระบบชาวบ้านที่ทำไว้ให้วุ่นวายทำไม (หรือไม่จริงที่โปรแกรมเมอร์หลายคนยอมเขียนโปรแกรมใหม่.. มากกว่ามาแกะงานเก่าของคนอื่นแล้วแก้ไขให้ใช้งานได้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้)
นี่แหละครับ ปัญหาที่มันยังไม่มีวันหลุดจาก loop นี้ได้ในเร็ววัน…
ทางแก้ที่ผมเจอ.. ถ้าอยากให้ programer และ designer มาสนใจ..ต้องเริ่มที่ project manager ครับ… บังคับมาเลย ต้องใช้ drupal นะ หรือ cms opensource นะ…มันเร็วกว่า และดีกว่า บลา บลาๆๆๆๆ และที่สำคัญลูกค้าต้องการงานที่มี standard …. แน่นอนครับ สิ่งเหล่านี้ก็ต้องตามมาด้วยค่าแรงที่แพงขึ้น… ไ่ม่งั้นก็คงล่อเหล่า.. programer และ designer ไม่ได้
ที่นี้มาดูข้อดีของระบบ cms opensource กันบ้าง… ผมขอพูดในแง่ของ designer นะครับ…
ข้อดีที่ผมเห็นชัดเจนเลยคือเรือ่ง user usability … เพราะมันผ่านการลองผิดลองถูก ปรับแก้ไขมาแล้วหลายรอบ.. และในทีมของแต่ละค่าย..ต้องมีคนที่ศึกษาเรือ่ง web usability มาบ้าง..
บ่นมายืดยาว…สรุปได้ว่า เริ่มที่ designer ก่อน.. อย่างน้อยสอนให้รู้จักการใช้ xhtml และ css ที่ถูกต้อง..จากนั้นพวกเขาจะเอาไปสร้างสรรค์ผลงานและบทความกระจายต่อไปกันเอง… เย้เย
เห็นด้วยกับ MP3WizarD ค่าแรงเมืองไทยตอนนี้ไม่ต่างอะไรกับคำว่า “กรรมกร” คืองานหนัก (มาก) แต่เงินน้อย ไร้มาตรฐานๆ เละๆ เทะๆ ตัดราคากันเอง บลาๆๆ
ค่าแรงเมืองไทยตอนนี้ไม่ต่างอะไรกับคำว่า “กรรมกร” คืองานหนัก (มาก) แต่เงินน้อย ไร้มาตรฐานๆ เละๆ เทะๆ ตัดราคากันเอง บลาๆๆ
เริ่มที่ designer ก่อน.. อย่างน้อยสอนให้รู้จักการใช้ xhtml และ css ที่ถูกต้อง..จากนั้นพวกเขาจะเอาไปสร้างสรรค์ผลงานและบทความกระจายต่อไปกันเอง… เย้เย
เริ่มที่ designer ก่อน.. อย่างน้อยสอนให้รู้จักการใช้ xhtml และ css ที่ถูกต้อง..จากนั้นพวกเขาจะเอาไปสร้างสรรค์ผลงานและบทความกระจายต่อไปกันเอง
สรุปได้ว่า เริ่มที่ designer ก่อน.. อย่างน้อยสอนให้รู้จักการใช้ xhtml และ css ที่ถูกต้อง
ผมเองในฐานะที่ทำงานในสายนี้โดยตรง (xhtml & css designer) และก็รู้จักคนหลายๆ คนในสายงานด้านน
รูปลักษณ์คือจุดเด่นที่ดึงดูดเป็นอย่างแรก
ง่ายต่อการใช้งานพร้อมประสิทธิภาพ
อย่างน้อยสอนให้รู้จักการใช้ xhtml และ css ที่ถูกต้อง..จากนั้นพวกเขาจะเอาไปสร้างสรรค์ผลงานและบทความกระจายต่อไปกันเอง…Thanks.
มันผ่านการลองผิดลองถูก ปรับแก้ไขมาแล้วหลายรอบ.. และในทีมของแต่ละค่าย..ต้องมีคนที่ศึกษาเรือ่ง web usability มาบ้าง………